หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
หน้ารวม Pic Post Pic Post ของฉัน สุดยอด Pic Post สุดยอดนักโพสท์คลังรูปค้นหา Pic Post Post รูป
ดูรายการโปรด เพิ่มเป็นรายการโปรด

เครื่องสักการะ กับความเชื่อของคนล้านนา

โพสท์โดย
ชาวล้านมีความเชื่อศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาเป็นเวลาช้านานตั้งแต่บรรพบุรุษ จวบจนปัจจุบันจะเห็นได้จากพิธีกรรม และประเณีต่างๆที่เกี่ยวเนื่อง กับศรัทธาความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน การประดิษฐ์เครื่องสักการะล้านนา ต้นดอก ต้นกุ่ม ต้นเทียน ต้นผึ้ง ประดิษฐ์ขึ่นเพื่อเป็นพุทธบูชาแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา และใช้ในงานประเพณีและพิธีกรรม เช่น พิธีอุปสมบท ประเพณีสรงน้ำพระธาตุ พิธีรดน้ำดำหัว ประเพณีแห่ครัวทาน นอกจากนี้ยังได้ประดิษฐ์ต้นกุ่ม ต้นดอกเพื่อสักการะศพพระเถรานุเถระชั้นผู้ใหญ่ ต้นดอก ถือเป็นเครื่องสักการะล้านนาที่เป็นศิลปะงานช่างฝีมือพื้นบ้านที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของแต่ละชุมชน เป็นงานฝีมือศิลปะพื้นฐาน ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น
1. หมากสุ่ม
รณลักษณ์ อินต๊ะ (รณลักษณ์ อินต๊ะ 2552: 49) ได้ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบของเครื่องสักการะล้านนาประเภท หมากสุ่ม พบว่าสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม สรุปได้ดังนี้ คือ
1.1.รูปแบบดั้งเดิม คือหมากสุ่มที่มีโครงสร้างลักษณะรูปทรงพุ่มแบบง่ายๆ โดยใช้วัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่น และใช้เวลาในการทำไม่นาน หมากสุ่มรูปแบบดังกล่าวนี้มีโครงสร้างที่ทำมาจากการนำไม้ไผ่ผ่าซีก มาเหลาให้มีขนาดเล็กแล้วนำไปแช่น้ำก่อนเพื่อให้ ไม้ไผ่สามารถ ดัดให้โค้งงอได้ จากนั้นจึงนำมาขัดหรือสานและมัดต่อกันจนได้ลักษณะโครงสร้างตามต้องการ ส่วนฐานรองรับโครงสร้างนี้จะทำจากต้นกล้วย ต้นคาที่ตากแห้งสนิทหรือฟางข้าว ซึ่งหากเป็นเขตรอบนอกเมืองจะนิยมใช้วัตถุดิบสองประเภทหลังมากกว่าเพราะหาได้ง่าย และสามารถทำไว้ล่วงหน้าได้ เมื่อทำโครงสร้างเสร็จแล้วก็จะนำหมากแห้งที่ร้อยเป็นสายด้วยเชือกปอมาเรียงซ้อนกันบนโครงสร้างให้สวยงาม จากนั้นจึงตกแต่งด้วยข้าวตอกดอกไม้และบุหรี่ยาสูบของชาวล้านนา
1.2.รูปแบบประยุกต์ เป็นรูปแบบที่พัฒนามาจากรูปแบบดั้งเดิม โดยจะทำให้มีลักษณะรูปทรงพุ่มคล้ายดอกบัวตูม โครงสร้างของหมากสุ่มรูปแบบนี้มาจากการดัดเชื่อมเหล็กจยได้ลักษณะตามต้องการ ความแตกต่างของหมากสุ่มรูปแบบนี้อยู่ที่ฐานรองรับซึ่งจะใช้ขันโตกหรือพานที่ทำจากไม้หรือโลหะ เพราะการใช้ขันโตกหรือพานเป็นฐานจะช่วยให้ขั้นตอนในการประกอบหมากสุ่มใช้เวลาน้อยลง เมื่อทำโครงสร้างเสร็จแล้วก็จะมีวิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติเช่นเดียวกับการทำหมากสุ่มรูปแบบดั้งเดิม เพียงแต่หมากสุ่มรูปแบบประยุกต์นี้จะมีความสวยงาม แข็งแรง และทนทานต่อการนำไปใช้ในงานพิธีการต่างๆมากกว่าหมากส่มรูปแบบดั้งเดิม

2. หมากเบ็ง
จากการศึกษาของรณลักษณ์ อินต๊ะ (รณลักษณ์ อินต๊ะ 2552: 50-51) พบว่าหมากเบ็งมีโครงสร้าง 3 รูปแบบ พอสรุปได้ดังนี้
2.1 รูปแบบดั้งเดิม คือ หมากเบ็งที่มีโครงสร้างลักษณะรูปทรงพุ่มคล้ายรูปวงรี ส่วนใหญ่จะพบในเขตรอบนอกเมือง โดยโครงสร้างของหมากเบ็งจะทำจากต้นกล้วยทั้งในส่วนที่เป็นฐานรองรับและแกนกลาง จากนั้นนำเอาผลหมากดิบที่มีสีเขียว หรือผลหมากสุกที่มีสีส้ม จำนวน 24 ผลมาประกอบลงบนโครงสร้าง ซึ่งในการทำหมากเบ็งนั้นจะต้องมีการนำทางมะพร้าวมาสานเป็นฐานรองรับ เรียกว่า “จั๋นแปดกลีบ” ขั้นตอนการประกอบหมากเบ็งคือ นำเอาไม้ไผ่ที่เหลาจนมีขนาดเล็กเท่ากับไม้ปลายแหลมเสียบผลหมากเข้ากับจั๋นแปดกลีบ แล้วปักลงบนแกนกลางต้นกล้วย ให้เป็นรูปทรงพุ่มโดยแบ่งจังหวะการปักผลหมากให้เท่ากัน จากนั้นจึงตกแต่งด้วยใบพลูที่ทาปูนแดงและดอกไม้สดที่หาได้ในหมู่บ้าน
2.2 รูปแบบประยุกต์ เป็นหมากเบ็งที่มีโครงสร้างสำเร็จรูป ลักษณะรูปทรงพุ่มคล้ายดอกบัวตูม ซึ่งตัวโครงสร้างนี้จะทำจากโลหะทองเหลืองทั้งในส่วนที่เป็นฐานรองรับและตัวแกนกลาง ตัวโครงสร้างจะถูกแบ่งเป็นช่องว่างจำนวน 6 หรือ 8 ช่องก็ได้ การแบ่งช่องแบบนี้เรียกว่า กาบเบ็ง ขั้นตอนการประกอบหมากเบ็งแบบนี้ไม่มีการสานทางมะพร้าวที่เรียกว่า “จั๋นแปดกลีบ”เป็นฐานรองหมาก แต่จะนำหมากดิบหรือหมากสุกตามแต่จะเลือกใช้จำนวน 24 ผล ประกอบลงบนโครงสร้างตามตำแหน่งที่ได้แบ่งไว้ก่อนแล้ว ส่วนวิธีการตกแต่งจะทำคล้ายคลึงกันกับวิธีตกแต่งหมากเบ็งรูปแบบดั้งเดิม สำหรับโครงสร้างสำเร็จรูปนี้เมื่อเสร็จพิธีกรรมแล้ว บางชุมชนจะเก็บรวบรวมไว้ที่วัดหรือที่เก็บของส่วนกลางของชุมชน การประดิษฐ์หมากเบ็งรูปแบบนี้มีขั้นตอนและวิธีการทำง่ายที่สุด
2.3 รูปแบบผสมผสาน เป็นหมากเบ็งที่มีทรงพุ่มคล้ายดอกบัวตูม แต่กระบวนการทำโครงสร้างเป็นการผสมผสานกันระหว่างโครงสร้างแบบดั้งเดิมและแบบประยุกต์ โดยยึดโครงสร้างแบบประยุกต์เป็นหลัก ขั้นตอนและวิธีการทำหมากเบ็งแบบนี้จะยากที่สุด เริ่มจากการทำโครงสร้างทั้งส่วนฐานและแกนกลางล้วนทำจากต้นกล้วยากนั้นต้องทำ "จั๋นแปดกลีบ" สำหรับรองหมาก แล้วใช้ไม้ไผ่เหลาเสียบผลหมากดิบหรือหมากสุก จำนวน 24 ผลเข้ากับฐาน (จั๋นแปดกลีบ) ก่อนที่จะปักลงบนแกนกลางที่ทำจากต้นกล้วยให้ได้ ทรงพุ่ม โดยต้องแบ่งระยะการปักให้เท่าๆ กัน เมื่อประกอบเสร็จแล้วจึงตกแต่งด้วยใบพลูที่ทาปูนแดงและดอกไม้สดเช่นเดียวกับหมากเบ็งทั้งสองรูปแบบแรก

3.ต้นดอก
จากการศึกษาของรณลักษณ์ อินต๊ะ (รณลักษณ์ อินต๊ะ 2552: 51-52) พบว่า รูปแบบของต้นดอกล้านนามีเพียงรูปแบบเดียว กล่าวคือ โครงสร้างของต้นดอกจะเป็นรูปทรงพุ่มคล้ายดอกบัวตูมหรือรูปทรงวงรีคล้ายไข่ไก่ โดยใช้ต้นกล้วยเป็นหลักในการทำโครงสร้างแต่จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าเพื่อให้สามารถรองรับน้ำหนักของดอกไม้และใบไม้ที่ปักลงบนแกนกลางของต้นกล้วย ใบไม้ที่นิยมนำมาประกอบเป็นต้นดอกคือ ใบเล็บครุฑ ต้นดอกของแต่ละชุมชนอาจมีสีสันแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ดอกไม้ที่จะนำมาปักบนพุ่มต้นดอกซึ่งแต่ละชุมชนอาจได้รับการปลูกฝังหรือถ่ายทอดแตกต่างกัน

4.ต้นเทียน
รณลักษณ์ อินต๊ะ (รณลักษณ์ อินต๊ะ 2552: 52) ได้ศึกษารูปแบบของต้นเทียนล้านนา พบว่ามีเพียงรูปแบบเดียว กล่าวโดยสรุปได้ว่า ลักษณะโดยรวมของต้นเทียนจะเป็นรูปทรงพุ่มคล้ายดอกบัวตูมและพุ่มรูปวงรีคล้าย
แชร์บน Facebook แชร์
มีผู้เข้าชมแล้ว 17,327 ครั้ง
โพสท์โดย: MrDEEW , 11Y
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ "VOTE" และ "SHARE"
เครื่องสักการะ กับความเชื่อของคนล้านนา
76 VOTES (4.8/5 จาก 16 คน)
 
หากคุณเป็นเจ้าของนิตยสาร/โมเดลลิ่ง เอเจนซี่ ต้องการโปรโมท สามารถส่ง e-mail แจ้งทีมงานให้ตั้งค่า username ของคุณเป็น Official User ได้ที่ info@postjung.com โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม
Comment ด้วย facebook