หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
หน้ารวม Pic Post Pic Post ของฉัน สุดยอด Pic Post สุดยอดนักโพสท์คลังรูปค้นหา Pic PostPost รูป
ดูรายการโปรด เพิ่มเป็นรายการโปรด

ฟ้อนสาวไหม โดย น้องพิม-พิมพัชร์ สัปจาตุระ พิธีไหว้ครู “ นบไหว้สา ครูบาอาจารย์ศิลป์ ” คณะวิจิตรศิลป์ มช. 2555

โพสท์โดย
ฟ้อนสาวไหม เป็นการฟ้อนที่ประดิษฐ์ขึ้นโดย พ่อครูกุย สุภาวสิทธิ์ ชาวบ้านตำบลแม่ก๊ะ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเรียนเชิงมาจากพ่อครูปวน คำมาแดง บ้านร้องวัวแดง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพ่อครูกุย สุภาวสิทธิ์ ได้เป็นครูเชิง หรือผู้สอนฟ้อนเชิง คือการฟ้อนด้วยมือเปล่าของผู้ชายในลีลาท่ารำในเชิงต่อสู้ ต่อมา "พ่อครูกุย"ได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านศรีทรายมูล ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และพ่อครูกุย ได้ถ่ายทอดการฟ้อนให้แก่บุตรสาว ในปี พ.ศ. 2495 คือ แม่ครูบัวเรียว(สุภาวสิทธิ์)รัตนมณีภรณ์ เมื่อแม่ครูอายุราว ๗ ขวบ
ต่อมาพ่อครูโม ใจสม ชาวมอญพระประแดงซึ่งเป็นนักดน...าฏศิป์ไทยจากเชียงใหม่ ได้อพยพไปอยู่ในละแวกเดียวกันด้วย ซึ่งพ่อครูโมก็ได้ช่วยฟื้นฟู "วงกลองเต่งถิ้ง" ของวัด สอนนาฏศิลป์ และดนตรีไทยจนมีนักดนตรีไทยฝีมือดีหลายคน ในช่วงเวลานั้นแม่ครูบัวเรียวได้ฝึกนาฏศิลป์กับพ่อครูโมด้วย เมื่อมีงานฉลองในวัดที่เกี่ยวข้องกับวัดศรีทรายมูลแล้ว เจ้าอาวาสและคณะศรัทธาก็มักจะนำดนตรีและช่างฟ้อนมาร่วมในงาน ซึ่งแม่ครูบัวเรียวก็ได้ไปร่วมฟ้อนด้วย โดยเฉพาะแม่ครูมักจะฟ้อนสาวไหมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแม่ครูได้ดัดแปลงลีลาการฟ้อนสาวไหมเชิงต่อสู้แบบชายให้เข้ากับบุคลิกของสตรี คือให้อ่อนช้อยงดงามและให้ลงจังหวะดนตรี แบบนาฏศิลป์ไทย ขณะเดียวกันดนตรีประกอบการฟ้อนแต่เดิมใช้ดนตรีพื้นเมืองประเภทใดก็ได้นั้น ก็เริ่มใช้วงกลองเต่งถิ้ง บรรเลงเพลงพื้นเมือง เช่น ปราสาทไหว และฤๅษีหลงถ้ำ ซึ่งต่อมาเห้นว่าไม่กระชับ จึงเลือกใช้เพลง"สาวไหม" แทนซึ่งเพลงนี้ ท่านผู้รู้บางท่าน ก็ว่าเป็นเพลงที่พ่อครูโมดัดแปลงจากเพลง"ลาวสมเด็จ"เพื่อใชhประกอบการฟ้อนสาวไหม
ประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๓ คณะศรัทธาจากวัดศรีทรายมูลได้ไปช่วยการฟ้อนที่วัดถ้ำปุ่มถำปลา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ครั้งนั้น นายอินทร์หล่อ สรรพศรี ซึ่งเป็นนักดนตรีไทยชั้นครูของเชียงรายได้ไปเห็นการฟ้อนของแม่ครูบัวเรียวด้วย ต่อมานายอินทร์หล่อ ได้ชมการฟ้อนของแม่ครูบัวเรียวที่งานวัดพระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และได้เชิญให้พบกับภรรยาของตนคือ แม่ครูพลอยศรี สรรพศรี ซึ่งเป็นช่างฟ้อนในคุ้มของเจ้าแก้วนวรัฐฯ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากพระราชชายาเจ้าดารารัศมีด้วย "แม่ครูพลอยศรี" ได้ปรับปรุงแก้ไขท่าฟ้อนของแม่บัวเรียว จากเดิม มี๑๓ ท่าฟ้อนให้เป็น ๒๑ ท่าฟ้อน
แต่ถึงกระนั้นการฟ้อนแบบต้นฉบับของแม่ครูบัวเรียวยังเป็นที่นิยมถ่ายทอดแก่ลูกศิษย์อยู่อย่างต่อเนื่อง
พิธี นบไหว้สา ครูบาอาจารย์ศิลป์ ซึ่งเป็นพิธีไหว้ครูแบบโบราณล้านนา ปลูกฝังการเคารพครูบาอาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาท วิชาให้กับนักศึกษา โดยมีริ้วขบวนแห่เครื่องสักการะ เครื่องเซ่นไหว้ครูที่แสดงถึงการ เคารพธรรมชาติและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ปัจจุบันและที่จบการศึกษา ไปแล้วได้ร่วมแสดงกตัญญูกตเวทิตาต่อครูอาจารย์

สำหรับพิธีไหว้ครูของคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดให้มีขึ้นทุกปี ในปี 2555 นี้ ได้กำหนดวันเป็นพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม 2555 โดยเชื่อถือเอาว่า ก่อนเริ่มการศึกษาทางศิลปะ ควรมีการเคารพกราบไหว้บวงสรวงครู อาจารย์ทั้งอดีตและปัจจุบัน ซึ่งมีผลอย่างมากต่อการสร้างสรรค์ผลงานและก่อเกิดแรง บันดาลใจให้กับเหล่าศิลปินทั่วไป

ขอกราบขอบพระคุณ ภาพสวยๆจาก
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=abird&month=07-2012&date=13&group=48&gblog=27

ขอความกรุณาใช้ถ่อยคำที่สุภาพในการคอมเม้นด้วยนะครับ
ขอบคุณครับ
Credit: http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=abird&month=07-2012&date=13&group=48&gblog=27
แชร์บน Facebook แชร์
มีผู้เข้าชมแล้ว 11,143 ครั้ง
โพสท์โดย: MrDEEW , 11Y
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ "VOTE" และ "SHARE"
ฟ้อนสาวไหม โดย น้องพิม-พิมพัชร์ สัปจาตุระ พิธีไหว้ครู “ นบไหว้สา ครูบาอาจารย์ศิลป์ ” คณะวิจิตรศิลป์ มช. 2555
43 VOTES (4.8/5 จาก 9 คน)
 
Voted By: บังไค, เคน กระทิงทอง
หากคุณเป็นเจ้าของนิตยสาร/โมเดลลิ่ง เอเจนซี่ ต้องการโปรโมท สามารถส่ง e-mail แจ้งทีมงานให้ตั้งค่า username ของคุณเป็น Official User ได้ที่ info@postjung.com โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม