กรุงเทพมหานคร:ความวุ่นวายที่น่าปรารถนา
โพสท์โดย ไอ้คิ้วสวยจะมีสักกี่แห่งในโลก ที่แม่ค้าหาบเร่จะปักหลักขายผลไม้อยู่หน้าโรงแรมห้าดาว พ่อครัวไม่รังเกียจรังงอนกับออเดอร์อาหารตามสั่งแบบละเอียดยิบของลูกค้า และโอกาสที่นักท่องเที่ยวจะถูกแท็กซี่หลอก มีมากพอๆกับโอกาสที่จะได้หนังสือเดินทางคืนเมื่อลืมทิ้งไว้บนรถ ที่นี่คือ กรุงเทพมหานคร เมืองที่ความชุลมุนจอแจ อาหารริมถนน และอากาศร้อนชื้น อยู่ร่วมกับความตระการตาของอารามหลวงได้อย่างไม่ขัดเขิน ทั้งยังกลับกลายเป็นเสน่ห์อันทรงพลัง ที่ทำให้กรุงเทพฯ เป็นจุดหมายปลายทางที่น่าหลงใหลได้ไม่รู้จบ
กว่า 229 ปีของการสถาปนากรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวง ความเติบโตของเมืองแผ่ขยายออกไปไกลจากปากแม่น้ำเดิม พร้อมๆ กับเผยให้เห็นด้านมืดของเมืองจากการพัฒนาแบบไม่ได้เตรียมตัว เพราะเมื่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 เริ่มขึ้นในปี 2504 ความโชติช่วงแห่งการพัฒนาเมืองจากการลงทุนภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้างทางหลวง ได้ชักนำการเคลื่อนย้ายแรงงานสู่เมืองอย่างรวดเร็วและรุนแรง บนความเพลิดเพลินจากการเติบโตนี้ได้ทิ้งร่องรอยไว้ให้รูปลักษณ์ของเมือง ทั้งภูมิทัศน์จากอาคารและสิ่งปลูกสร้าง มลพิษทางอากาศ สภาพการจราจรติดขัด ชุมชนแออัด และระบบสาธารณูปโภค ทั้งไฟฟ้า ประปา และสายโทรศัพท์ ที่ไม่เคยลงรอยกันได้สักครั้ง
แต่ในฐานะผู้มาเยือนจากต่างถิ่น ความไร้ระเบียบอันมิได้เจตนานี้กลับน่ารักน่าใคร่ เพราะท่ามกลางความเสี่ยงที่กระแสไฟฟ้าจะวิ่งลัดผิดทางจากสายไฟที่ระโยงระยางนั้น มักจะตามมาด้วยอาหารริมถนนที่อร่อยล้ำ ตลาดนัดกลางแจ้ง และระบบโลจิสติกส์อันยอดเยี่ยมของมอเตอร์ไซค์รับจ้างทั่วเมือง ความช่างบริการและบรรยากาศที่เป็นมิตรจนไม่เกิดความรู้สึกแปลกแยกสำหรับชาวต่างชาตินั้น นับเป็นผลผลิตสำคัญจากการเป็นเมืองท่าที่เปิดรับโลกกว้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา (ราวศตวรรษที่ 14-18) เพื่อทำหน้าที่เก็บภาษีเรือสินค้าที่ผ่านเข้าออก ขนส่งสินค้า โกดังเก็บสินค้า และแหล่งเจรจาธุรกิจของชาวต่างชาติ จนในปัจจุบัน กรุงเทพฯ ยังคงทำหน้าที่นั้นอย่างสมบูรณ์ ด้วยการเป็นประตูที่ไม่เคยปิดรับการเดินทางมาถึงของนักท่องเที่ยวที่แตะหลัก 16.5 ล้านคนในปีนี้ เพิ่มขึ้นจากจำนวน 15.8 ล้านคนในปีก่อน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างฐานรายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวของชาวต่างชาติให้เพิ่มเป็น 6 แสนล้านบาท จาก 5.8 แสนล้านบาท ขณะเดียวกันในส่วนของเมืองเองก็สร้างรายรับจากกิจการต่างๆ ราว 46,224 ล้านบาท และรายได้จากภาษีราว 13,342 ล้านบาทในปี 2554
“Street food”คุ้มราคาและน่าสนุก
เมื่อนิตยสาร Sunday Times Travel Magazine ฉบับมิถุนายน 2554 เลือกกรุงเทพฯ ให้รับรางวัล Best-Value City, Worldwide จากการจัดอันดับ Value for Money Awards 2011 ไม่มีอะไรต้องสงสัยเลยว่า กรุงเทพฯ ยังมีมนต์ขลัง เพราะการจัดอันดับของนิตยสารด้านท่องเที่ยวรายเดือนที่ได้รับความนิยมสูงสุดของสหราชอาณาจักรฉบับนี้ มาจากการโหวตของสมาชิกผู้อ่านนิตยสารที่ประกอบด้วยกลุ่มนักเขียนและผู้เชี่ยวชาญที่ใช้ประสบการณ์ตรงระหว่างที่เดินทางท่องเที่ยวในไทยในช่วงปีที่ผ่านมา โดยเหตุผลสำคัญที่ช่วยให้กรุงเทพฯ ได้รับการโหวตรางวัลนี้ คือประสบการณ์อันทรงคุณค่าที่นักท่องเที่ยวจะได้รับในราคาที่คุ้มค่าเงิน ไม่ว่าจะเป็น ค่าเข้าชมแหล่งท่องเที่ยว ค่าพาหนะท้องถิ่น รวมถึงนักท่องเที่ยวยังสามารถลิ้มรสอาหารอร่อยนานาชนิดที่จำหน่ายอยู่ริมสองฝั่งถนนในราคาย่อมเยา โดยมีเมืองท่องเที่ยวที่ได้รับคะแนนโหวตอันดับรองลงมา ได้แก่ บัวโนส ไอเรส (อาร์เจนตินา) ฮาวานา (คิวบา) เคปทาวน์ (แอฟริกาใต้) มุมไบ (อินเดีย) และอิสตัลบูล (ตุรกี)
ประสบการณ์ยอดนิยมจาก Street food ที่ว่ากันว่าคุ้มราคาและน่าสนุกนี้ สามารถพบเห็นได้ทั่วกรุงเทพฯ อย่างชินตาจากเขตเมืองเก่าของเกาะรัตนโกสินทร์ ย่านไชน่าทาวน์ เขตใจกลางเมืองบนถนนสุขุมวิท ซอยทองหล่อ หรือข้ามไปฝั่งธนบุรี ซึ่งสำหรับนักท่องเที่ยวแล้วนอกจากความตื่นตาจากอาหารที่เรียงรายหลากหลาย ลีลาทะมัดทะแมงของพ่อครัวและเด็กเสิร์ฟก็ยังเป็นเสมือนการได้ชมโชว์ดีๆ ที่ให้อรรถรสครบครัน Joshua Kurlantzick ผู้สื่อข่าวของนิวยอร์ก ไทม์ เขียนถึงความพิสมัยต่อสิ่งนี้ ในบทความ “Street Smarts in Bangkok” ว่า ในแต่ละครั้งที่มากรุงเทพฯ เขาจะต้องมีรายชื่ออาหาร Street Food ในย่านใหม่ๆ ที่ต้องลองมาด้วยทุกครั้ง บนสองฝั่งถนนของกรุงเทพฯ นั้น เต็มไปด้วยร้านค้า หาบเร่แผงลอยที่มีเรื่องราวของตำรับอาหารตกทอดกันมายาวนาน อาหารริมถนนเหล่านี้ประกอบไปด้วยวัตถุดิบที่สดใหม่จากจังหวัดใกล้เคียง เครื่องปรุงรสนานาชนิด ที่เคียงคู่มากับทัศนคติอันดีเยี่ยมที่พร้อมสร้างสรรค์รสชาติอาหารให้ถูกปากลูกค้าเสมอ อาหารจากผู้ค้าริมถนนนี้ จึงเต็มไปด้วยสีสัน และนำไปสู่ความสนใจที่จะเรียนรู้ถึงการปรุงอาหารเหล่านี้อย่างถูกวิธีอีกด้วย
Welcome to Thai Cooking Class
ที่ถนนข้าวสาร นักท่องเที่ยวชาวสวีเดนกำลังสาละวนอยู่กับการหยิบจับอุปกรณ์เครื่องครัวไทย ซึ่งบางอย่างพวกเขาไม่เคยเห็นมาก่อนในชีวิต เสียงอุทาน เสียงหัวเราะ และภาษาอังกฤษสำเนียงแปร่งๆ จากครูชาวอีสาน ดังผสมกันออกมาจากพื้นที่ที่เรียกว่าชั้นเรียนทำอาหารไทย
เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า อาหารไทยเป็นเสน่ห์อันดับต้นๆ ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือน แต่กรุงเทพฯ สร้างตัวเองให้เหนือกว่านั้น ด้วยชั้นเชิงในการบริการสอนทำอาหารไทยที่ครบรส ทั้งตื่นเต้น สนุกสนาน หรืองดงาม ภายใต้โรงเรียนสอนทำอาหารที่ซุกซ่อนอยู่ทั่วเมือง จากถนนข้าวสาร ตรอกรามบุตรี หรือซอกซอยในสีลม ด้วยหลักสูตรราคาย่อมเยา 1,500-2,000 บาท สำหรับ 1- 2 เมนูยอดฮิต พร้อมกิจกรรมจับจ่ายตลาดยามเช้า ก่อนเข้าครัวลงมือทำอาหารและปิดท้ายด้วยการชิมรสมือของตัวเอง แต่สำหรับลูกค้าที่ขยาดกับตลาดสดที่เจิ่งนอง และต้องการสัมผัสศิลปะการทำอาหารไทยแบบชาววัง สถาบันสอนทำอาหารไทยก็มีให้เลือกอย่างมากมายทั้งหลักสูตรจากโรงเรียนและโรงแรมระดับห้าดาว
จิตรา จันทรากุล นายกสมาคมผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนนอกระบบ กล่าวถึงกระแสการเรียนทำอาหารในโรงเรียนสอนทำอาหารว่ามีจำนวนเพิ่ม
กว่า 229 ปีของการสถาปนากรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวง ความเติบโตของเมืองแผ่ขยายออกไปไกลจากปากแม่น้ำเดิม พร้อมๆ กับเผยให้เห็นด้านมืดของเมืองจากการพัฒนาแบบไม่ได้เตรียมตัว เพราะเมื่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 เริ่มขึ้นในปี 2504 ความโชติช่วงแห่งการพัฒนาเมืองจากการลงทุนภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้างทางหลวง ได้ชักนำการเคลื่อนย้ายแรงงานสู่เมืองอย่างรวดเร็วและรุนแรง บนความเพลิดเพลินจากการเติบโตนี้ได้ทิ้งร่องรอยไว้ให้รูปลักษณ์ของเมือง ทั้งภูมิทัศน์จากอาคารและสิ่งปลูกสร้าง มลพิษทางอากาศ สภาพการจราจรติดขัด ชุมชนแออัด และระบบสาธารณูปโภค ทั้งไฟฟ้า ประปา และสายโทรศัพท์ ที่ไม่เคยลงรอยกันได้สักครั้ง
แต่ในฐานะผู้มาเยือนจากต่างถิ่น ความไร้ระเบียบอันมิได้เจตนานี้กลับน่ารักน่าใคร่ เพราะท่ามกลางความเสี่ยงที่กระแสไฟฟ้าจะวิ่งลัดผิดทางจากสายไฟที่ระโยงระยางนั้น มักจะตามมาด้วยอาหารริมถนนที่อร่อยล้ำ ตลาดนัดกลางแจ้ง และระบบโลจิสติกส์อันยอดเยี่ยมของมอเตอร์ไซค์รับจ้างทั่วเมือง ความช่างบริการและบรรยากาศที่เป็นมิตรจนไม่เกิดความรู้สึกแปลกแยกสำหรับชาวต่างชาตินั้น นับเป็นผลผลิตสำคัญจากการเป็นเมืองท่าที่เปิดรับโลกกว้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา (ราวศตวรรษที่ 14-18) เพื่อทำหน้าที่เก็บภาษีเรือสินค้าที่ผ่านเข้าออก ขนส่งสินค้า โกดังเก็บสินค้า และแหล่งเจรจาธุรกิจของชาวต่างชาติ จนในปัจจุบัน กรุงเทพฯ ยังคงทำหน้าที่นั้นอย่างสมบูรณ์ ด้วยการเป็นประตูที่ไม่เคยปิดรับการเดินทางมาถึงของนักท่องเที่ยวที่แตะหลัก 16.5 ล้านคนในปีนี้ เพิ่มขึ้นจากจำนวน 15.8 ล้านคนในปีก่อน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างฐานรายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวของชาวต่างชาติให้เพิ่มเป็น 6 แสนล้านบาท จาก 5.8 แสนล้านบาท ขณะเดียวกันในส่วนของเมืองเองก็สร้างรายรับจากกิจการต่างๆ ราว 46,224 ล้านบาท และรายได้จากภาษีราว 13,342 ล้านบาทในปี 2554
“Street food”คุ้มราคาและน่าสนุก
เมื่อนิตยสาร Sunday Times Travel Magazine ฉบับมิถุนายน 2554 เลือกกรุงเทพฯ ให้รับรางวัล Best-Value City, Worldwide จากการจัดอันดับ Value for Money Awards 2011 ไม่มีอะไรต้องสงสัยเลยว่า กรุงเทพฯ ยังมีมนต์ขลัง เพราะการจัดอันดับของนิตยสารด้านท่องเที่ยวรายเดือนที่ได้รับความนิยมสูงสุดของสหราชอาณาจักรฉบับนี้ มาจากการโหวตของสมาชิกผู้อ่านนิตยสารที่ประกอบด้วยกลุ่มนักเขียนและผู้เชี่ยวชาญที่ใช้ประสบการณ์ตรงระหว่างที่เดินทางท่องเที่ยวในไทยในช่วงปีที่ผ่านมา โดยเหตุผลสำคัญที่ช่วยให้กรุงเทพฯ ได้รับการโหวตรางวัลนี้ คือประสบการณ์อันทรงคุณค่าที่นักท่องเที่ยวจะได้รับในราคาที่คุ้มค่าเงิน ไม่ว่าจะเป็น ค่าเข้าชมแหล่งท่องเที่ยว ค่าพาหนะท้องถิ่น รวมถึงนักท่องเที่ยวยังสามารถลิ้มรสอาหารอร่อยนานาชนิดที่จำหน่ายอยู่ริมสองฝั่งถนนในราคาย่อมเยา โดยมีเมืองท่องเที่ยวที่ได้รับคะแนนโหวตอันดับรองลงมา ได้แก่ บัวโนส ไอเรส (อาร์เจนตินา) ฮาวานา (คิวบา) เคปทาวน์ (แอฟริกาใต้) มุมไบ (อินเดีย) และอิสตัลบูล (ตุรกี)
ประสบการณ์ยอดนิยมจาก Street food ที่ว่ากันว่าคุ้มราคาและน่าสนุกนี้ สามารถพบเห็นได้ทั่วกรุงเทพฯ อย่างชินตาจากเขตเมืองเก่าของเกาะรัตนโกสินทร์ ย่านไชน่าทาวน์ เขตใจกลางเมืองบนถนนสุขุมวิท ซอยทองหล่อ หรือข้ามไปฝั่งธนบุรี ซึ่งสำหรับนักท่องเที่ยวแล้วนอกจากความตื่นตาจากอาหารที่เรียงรายหลากหลาย ลีลาทะมัดทะแมงของพ่อครัวและเด็กเสิร์ฟก็ยังเป็นเสมือนการได้ชมโชว์ดีๆ ที่ให้อรรถรสครบครัน Joshua Kurlantzick ผู้สื่อข่าวของนิวยอร์ก ไทม์ เขียนถึงความพิสมัยต่อสิ่งนี้ ในบทความ “Street Smarts in Bangkok” ว่า ในแต่ละครั้งที่มากรุงเทพฯ เขาจะต้องมีรายชื่ออาหาร Street Food ในย่านใหม่ๆ ที่ต้องลองมาด้วยทุกครั้ง บนสองฝั่งถนนของกรุงเทพฯ นั้น เต็มไปด้วยร้านค้า หาบเร่แผงลอยที่มีเรื่องราวของตำรับอาหารตกทอดกันมายาวนาน อาหารริมถนนเหล่านี้ประกอบไปด้วยวัตถุดิบที่สดใหม่จากจังหวัดใกล้เคียง เครื่องปรุงรสนานาชนิด ที่เคียงคู่มากับทัศนคติอันดีเยี่ยมที่พร้อมสร้างสรรค์รสชาติอาหารให้ถูกปากลูกค้าเสมอ อาหารจากผู้ค้าริมถนนนี้ จึงเต็มไปด้วยสีสัน และนำไปสู่ความสนใจที่จะเรียนรู้ถึงการปรุงอาหารเหล่านี้อย่างถูกวิธีอีกด้วย
Welcome to Thai Cooking Class
ที่ถนนข้าวสาร นักท่องเที่ยวชาวสวีเดนกำลังสาละวนอยู่กับการหยิบจับอุปกรณ์เครื่องครัวไทย ซึ่งบางอย่างพวกเขาไม่เคยเห็นมาก่อนในชีวิต เสียงอุทาน เสียงหัวเราะ และภาษาอังกฤษสำเนียงแปร่งๆ จากครูชาวอีสาน ดังผสมกันออกมาจากพื้นที่ที่เรียกว่าชั้นเรียนทำอาหารไทย
เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า อาหารไทยเป็นเสน่ห์อันดับต้นๆ ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือน แต่กรุงเทพฯ สร้างตัวเองให้เหนือกว่านั้น ด้วยชั้นเชิงในการบริการสอนทำอาหารไทยที่ครบรส ทั้งตื่นเต้น สนุกสนาน หรืองดงาม ภายใต้โรงเรียนสอนทำอาหารที่ซุกซ่อนอยู่ทั่วเมือง จากถนนข้าวสาร ตรอกรามบุตรี หรือซอกซอยในสีลม ด้วยหลักสูตรราคาย่อมเยา 1,500-2,000 บาท สำหรับ 1- 2 เมนูยอดฮิต พร้อมกิจกรรมจับจ่ายตลาดยามเช้า ก่อนเข้าครัวลงมือทำอาหารและปิดท้ายด้วยการชิมรสมือของตัวเอง แต่สำหรับลูกค้าที่ขยาดกับตลาดสดที่เจิ่งนอง และต้องการสัมผัสศิลปะการทำอาหารไทยแบบชาววัง สถาบันสอนทำอาหารไทยก็มีให้เลือกอย่างมากมายทั้งหลักสูตรจากโรงเรียนและโรงแรมระดับห้าดาว
จิตรา จันทรากุล นายกสมาคมผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนนอกระบบ กล่าวถึงกระแสการเรียนทำอาหารในโรงเรียนสอนทำอาหารว่ามีจำนวนเพิ่ม
Credit: โดย Creative Thailand
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ "VOTE" และ "SHARE"
กรุงเทพมหานคร:ความวุ่นวายที่น่าปรารถนา
80 VOTES (5/5 จาก 16 คน)
หากคุณเป็นเจ้าของนิตยสาร/โมเดลลิ่ง เอเจนซี่ ต้องการโปรโมท สามารถส่ง e-mail แจ้งทีมงานให้ตั้งค่า username ของคุณเป็น Official User ได้ที่ info@postjung.com โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ