ตำนาน คําสาป เพชรโฮป Hope Diamond
โพสท์โดยเพชรโฮป (Hope Diamond) เป็นเพชรขนาดใหญ่ หนัก 45.52 กะรัต สีน้ำเงินเข้ม ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติสมิธโซเนียนในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพชรโฮปมองด้วยตาเปล่าเห็นเป็นสีน้ำเงินเพราะมีธาตุโบรอนปริมาณเล็กน้อยอยู่ในโครงสร้างผลึก แต่จะเรืองแสงสีแดงเมื่ออาบแสงอัลตราไวโอเล็ตเพชรดังกล่าวจัดเป็นเพชรประเภท 2 บี และดังกระฉ่อนเพราะเล่าว่าเป็นเพชรต้องคำสาป มันมีประวัติศาสตร์บันทึกยาวนานโดยมีช่องว่างอยู่บ้างเมื่อมันได้เปลี่ยนมือหลายครั้งระหว่างทางจากอินเดียไปฝรั่งเศส ไปอังกฤษและสหรัฐอเมริกา เพชรโฮปได้รับการอธิบายว่าเป็น "เพชรที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก" และเป็นงานศิลปะที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก รองจากภาพโมนาลิซา
เพชร นอกจากจะสวยงาม เป็นสิ่งล้ำค่าหายากแล้ว ยังผูกพันธ์อยู่กับความเชื่อมากมาย เพชร "โฮป" เพชรสีน้ำเงินเข้มเม็ดนี้เป็นอีกหนึ่งตำนานที่ได้รับการกล่าวขานมาเนิ่นนาน
โฮ ปไดอามอนด์ ปรากฏตัวเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในปี 1660 (บางเอกสารกล่าวว่าปี 1661) ว่ากันว่า เพชรโฮปมาจากดวงตาของเทวรูปในวัดริมแม่น้ำโคเลอรูน (Coleroon) ในอินเดีย เพชรหนัก 112 กะรัต(22.44 กรัม) 3/16 กะรัต ซึ่งนับว่าใหญ่ที่สุดในโลกในบรรดาเพชรสีน้ำเงินในอดีตที่เคยพบมา เม็ดนี้ ถูกขุดพบในเหมืองคอลเลอร์ (Kollur mine) ในกอลคอนดา เป็นเพชรที่หายากและมีสีน้ำเงินเหมือนสีไพลินเข้ม ชอง-แบปตีส ตาแวร์นีเย (Jean-Baptist Tavernier) พ่อค้าเพชรชื่อดังชาวฝรั่งเศส ซื้อเพชรนี้มาและลักลอบนำเข้าไปยังกรุงปารีสใน ค.ศ. 1668
จุดกำเนิดอาถรรพ์อยู่ที่เรื่องเล่าที่ ว่า แท้จริงแล้วเพชรถูกขโมยมาจากพระเนตร (บางที่ก็ว่าจากพระนลาฏ) ของเทวรูปนางสีดาซึ่งเป็นร่างที่พระนางลักษมีชายาของพระวิษณุที่ชาวอินเดีย เคารพนับถืออย่างสูงแปลงลงมาจุติ ทำให้เทพเจ้าไม่พอพระทัยและสาปแช่งมนุษย์ผู้ใดก็ตามที่บังอาจครอบครองสมบัติ ชิ้นนี้ อย่างไรก็ตาม มีผู้แสดงความคิดเห็นคัดค้านว่าตำนานนี้ไม่น่าจะเป็นเรื่องจริง เนื่องจากรูปร่างของเพชรดิบสีน้ำเงินไม่เหมาะที่จะเป็นอัญมณีประดับที่พระ เนตร(หรือพระนลาฏ) ของเทวรูปเลย แต่ไม่ว่าคำสาปแช่งจะมีอยู่จริงหรือไม่ ข้อเท็จจริงที่จะได้เล่าต่อไปก็ล้วนชี้ให้เห็นว่าบรรดาเจ้าของเพชรอาถรรพ์ ต่างก็ประสบชะตากรรมเลวร้ายทั้งสิ้น หลังจากที่ตาแวร์นิเยร์เดิน ทางกลับประเทศฝรั่งเศส เขาได้ขายเพชรเม็ดใหญ่นี้ให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งราชวงศ์บูร์บอง ในปี 1668 และเมื่ออายุได้ 84 ปี ตาแวร์นิเยร์ก็เสียชีวิตอย่างลึกลับที่รัสเซีย โดยมีข่าวลือว่าเขาถูกหมาป่าฉีกร่างจนตาย นับเป็นการสังเวยครั้งแรกให้แก่อาถรรพ์เพชรโฮป พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซื้อเพชรจากตาแวร์นิเยร์ ด้วยราคาหลักล้าน เพชรถูกเจียระไนเป็นรูปหยดน้ำรูปทรงสามเหลี่ยมหนัก 67.5 กะรัต โดยนายเปเตออง (Petean) ช่างฝีมือเน้นเรื่องขนาดมากกว่าความงามของน้ำเพชร ครั้งนี้พระองค์ทรงให้ตัดแบ่งเพชรออกเป็น 3 ส่วน ชิ้นแรกนั้นหายสาปสูญไป ส่วนอีกสองชิ้น ชิ้นหนึ่งได้รับการเจียระไนเป็นรูปหัวใจขนาด 67 1/8 กะรัต และใช้เป็นเพชรประดับประจำราชวงศ์ฝรั่งเศสมาอีกนับทศวรรษในชื่อ "เพชรมงกุฏสีน้ำเงิน" (Blue diamond of the crown) หรือ "สีน้ำเงินแห่งฝรั่งเศส" (French Blue) ซึ่งในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นเพชรโฮป ส่วนเพชรชิ้นสุดท้ายไม่มีหลักฐานแน่ชัดแต่เชื่อว่าคือเพชรที่เรียกว่า"บรันสวิก บลู " เคราะห์ กรรมของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 กับพระนางมารีอังตัวเน็ตนั้นมีชื่อเสียงเกินพอจนไม่มีอะไรจะให้พูดถึง และมีการกล่าวว่าเจ้าหญิงซึ่งเคยยืมเพชรเม็ดนี้จากพระนางมารีอังตัวเน็ตมา ใส่บ่อยๆก็ถูกประชาชนรุมฆ่าตายอย่างทารุณ เวลาผ่านไป ความโชคร้ายก็เริ่มคืบคลานเข้าครอบงำสมาชิกราชวงศ์และผู้ที่เกี่ยวข้องกับ เพชรทีละน้อย เสนาบดีคลัง นิโคลัส ฟูเก ที่เคยหยิบยืมเพชรไปใส่ ในที่สุดก็ต้องออกจากตำแหน่ง ทั้งยังต้องโทษติดคุก แต่ที่ร้ายไปกว่านั้น คือชะตากรรมของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระราชินีมารี อังตัวเนตต์ที่ได้รับสืบทอดเพชรแห่งหายนะ ทั้งสองพระองค์ถูกตัดพระเศียรด้วยกิโยตินอย่างน่าสยดสยอง ดังที่จารึกอยู่ในประวัติศาสตร์การปฏิวัติอันนองเลือดของฝรั่งเศสในปีคริสต ศักราช 1789 และบางส่วนของเพชรมรณะเม็ดนี้ก็ได้หายสาปสูญไปในเหตุการณ์วุ่นวายครั้งนี้ ด้วย ปี 1792 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส มีกลุ่มหัวขโมยบุกเข้าปล้นเพชรบางส่วนที่เหลืออยู่จากราชวังที่ปิดตายอยู่ ในระหว่างนี้เพชรถูกตัดให้เล็กลงอีกเพื่อกลบเกลื่อนร่องรอยที่มาจนเหลือขนาด 44.50 กะรัต คนรักของพระองค์ที่ได้รับเพชรเม็ดนี้เป็นของขวัญก็ ถูกขับออกจากราชสำนักในภายหลังเนื่องจากวางแผนจะวางยาพิษราชินี คือ มาดาม เดอ มงเตสปอง (Madam de Montespan) นางกลายเป็นที่เกลียดชังของราชสำนัก เพชรฝรั่งเศสสีน้ำเงินนี้ ได้หายไปในเดือนกันยายน ค.ศ. 1792 หลังจากการปล้นเพชรครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ที่คลังเก็บสมบัติแห่งชาติ (The National Garde Meuble) ใน ค.ศ. 1812
ต่อมาในปี 1813 ณ กรุง ลอนดอน นายหน้าค้าเพชรนาม ดาเนียล เอเลียสัน (Daniel Eliason) ได้เพชรสีน้ำเงินเม็ดหนึ่งขนาด 44 กะรัตมาไว้ในครอบครอง ถึงแม้รูปร่างลักษณะจะไม่เหมือนเดิม แต่ด้วยความงามที่เป็นหนึ่งไม่มีสอง ทำให้ผู้ที่ได้พบเห็นเชื่อกันว่า มันก็คือเพชรน้ำเงินแห่งฝรั่งเศสที่ถูกเปลี่ยนรูปร่างไปเพื่อให้สะดวกต่อการ ขนย้ายข้ามชาติอย่างลับๆ กล่าวกันว่าผู้ที่ทำการเจียระไนคือ วิลเฮล์ม ฟาลส์ (Wilhlem Fals) นักเจียระไนชาวฮอลแลนด์ก็มีจุดจบอย่างน่าเศร้า ถูกบุตรชายของตนเองขโมยเพชรล้ำค่าไปจนตรอมใจตาย ในขณะที่บุตรคนนั้นในภายหลังก็ได้ฆ่าตัวตายอย่างไม่ทราบสาเหตุ
เพชร นอกจากจะสวยงาม เป็นสิ่งล้ำค่าหายากแล้ว ยังผูกพันธ์อยู่กับความเชื่อมากมาย เพชร "โฮป" เพชรสีน้ำเงินเข้มเม็ดนี้เป็นอีกหนึ่งตำนานที่ได้รับการกล่าวขานมาเนิ่นนาน
โฮ ปไดอามอนด์ ปรากฏตัวเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในปี 1660 (บางเอกสารกล่าวว่าปี 1661) ว่ากันว่า เพชรโฮปมาจากดวงตาของเทวรูปในวัดริมแม่น้ำโคเลอรูน (Coleroon) ในอินเดีย เพชรหนัก 112 กะรัต(22.44 กรัม) 3/16 กะรัต ซึ่งนับว่าใหญ่ที่สุดในโลกในบรรดาเพชรสีน้ำเงินในอดีตที่เคยพบมา เม็ดนี้ ถูกขุดพบในเหมืองคอลเลอร์ (Kollur mine) ในกอลคอนดา เป็นเพชรที่หายากและมีสีน้ำเงินเหมือนสีไพลินเข้ม ชอง-แบปตีส ตาแวร์นีเย (Jean-Baptist Tavernier) พ่อค้าเพชรชื่อดังชาวฝรั่งเศส ซื้อเพชรนี้มาและลักลอบนำเข้าไปยังกรุงปารีสใน ค.ศ. 1668
จุดกำเนิดอาถรรพ์อยู่ที่เรื่องเล่าที่ ว่า แท้จริงแล้วเพชรถูกขโมยมาจากพระเนตร (บางที่ก็ว่าจากพระนลาฏ) ของเทวรูปนางสีดาซึ่งเป็นร่างที่พระนางลักษมีชายาของพระวิษณุที่ชาวอินเดีย เคารพนับถืออย่างสูงแปลงลงมาจุติ ทำให้เทพเจ้าไม่พอพระทัยและสาปแช่งมนุษย์ผู้ใดก็ตามที่บังอาจครอบครองสมบัติ ชิ้นนี้ อย่างไรก็ตาม มีผู้แสดงความคิดเห็นคัดค้านว่าตำนานนี้ไม่น่าจะเป็นเรื่องจริง เนื่องจากรูปร่างของเพชรดิบสีน้ำเงินไม่เหมาะที่จะเป็นอัญมณีประดับที่พระ เนตร(หรือพระนลาฏ) ของเทวรูปเลย แต่ไม่ว่าคำสาปแช่งจะมีอยู่จริงหรือไม่ ข้อเท็จจริงที่จะได้เล่าต่อไปก็ล้วนชี้ให้เห็นว่าบรรดาเจ้าของเพชรอาถรรพ์ ต่างก็ประสบชะตากรรมเลวร้ายทั้งสิ้น หลังจากที่ตาแวร์นิเยร์เดิน ทางกลับประเทศฝรั่งเศส เขาได้ขายเพชรเม็ดใหญ่นี้ให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งราชวงศ์บูร์บอง ในปี 1668 และเมื่ออายุได้ 84 ปี ตาแวร์นิเยร์ก็เสียชีวิตอย่างลึกลับที่รัสเซีย โดยมีข่าวลือว่าเขาถูกหมาป่าฉีกร่างจนตาย นับเป็นการสังเวยครั้งแรกให้แก่อาถรรพ์เพชรโฮป พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซื้อเพชรจากตาแวร์นิเยร์ ด้วยราคาหลักล้าน เพชรถูกเจียระไนเป็นรูปหยดน้ำรูปทรงสามเหลี่ยมหนัก 67.5 กะรัต โดยนายเปเตออง (Petean) ช่างฝีมือเน้นเรื่องขนาดมากกว่าความงามของน้ำเพชร ครั้งนี้พระองค์ทรงให้ตัดแบ่งเพชรออกเป็น 3 ส่วน ชิ้นแรกนั้นหายสาปสูญไป ส่วนอีกสองชิ้น ชิ้นหนึ่งได้รับการเจียระไนเป็นรูปหัวใจขนาด 67 1/8 กะรัต และใช้เป็นเพชรประดับประจำราชวงศ์ฝรั่งเศสมาอีกนับทศวรรษในชื่อ "เพชรมงกุฏสีน้ำเงิน" (Blue diamond of the crown) หรือ "สีน้ำเงินแห่งฝรั่งเศส" (French Blue) ซึ่งในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นเพชรโฮป ส่วนเพชรชิ้นสุดท้ายไม่มีหลักฐานแน่ชัดแต่เชื่อว่าคือเพชรที่เรียกว่า"บรันสวิก บลู " เคราะห์ กรรมของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 กับพระนางมารีอังตัวเน็ตนั้นมีชื่อเสียงเกินพอจนไม่มีอะไรจะให้พูดถึง และมีการกล่าวว่าเจ้าหญิงซึ่งเคยยืมเพชรเม็ดนี้จากพระนางมารีอังตัวเน็ตมา ใส่บ่อยๆก็ถูกประชาชนรุมฆ่าตายอย่างทารุณ เวลาผ่านไป ความโชคร้ายก็เริ่มคืบคลานเข้าครอบงำสมาชิกราชวงศ์และผู้ที่เกี่ยวข้องกับ เพชรทีละน้อย เสนาบดีคลัง นิโคลัส ฟูเก ที่เคยหยิบยืมเพชรไปใส่ ในที่สุดก็ต้องออกจากตำแหน่ง ทั้งยังต้องโทษติดคุก แต่ที่ร้ายไปกว่านั้น คือชะตากรรมของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระราชินีมารี อังตัวเนตต์ที่ได้รับสืบทอดเพชรแห่งหายนะ ทั้งสองพระองค์ถูกตัดพระเศียรด้วยกิโยตินอย่างน่าสยดสยอง ดังที่จารึกอยู่ในประวัติศาสตร์การปฏิวัติอันนองเลือดของฝรั่งเศสในปีคริสต ศักราช 1789 และบางส่วนของเพชรมรณะเม็ดนี้ก็ได้หายสาปสูญไปในเหตุการณ์วุ่นวายครั้งนี้ ด้วย ปี 1792 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส มีกลุ่มหัวขโมยบุกเข้าปล้นเพชรบางส่วนที่เหลืออยู่จากราชวังที่ปิดตายอยู่ ในระหว่างนี้เพชรถูกตัดให้เล็กลงอีกเพื่อกลบเกลื่อนร่องรอยที่มาจนเหลือขนาด 44.50 กะรัต คนรักของพระองค์ที่ได้รับเพชรเม็ดนี้เป็นของขวัญก็ ถูกขับออกจากราชสำนักในภายหลังเนื่องจากวางแผนจะวางยาพิษราชินี คือ มาดาม เดอ มงเตสปอง (Madam de Montespan) นางกลายเป็นที่เกลียดชังของราชสำนัก เพชรฝรั่งเศสสีน้ำเงินนี้ ได้หายไปในเดือนกันยายน ค.ศ. 1792 หลังจากการปล้นเพชรครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ที่คลังเก็บสมบัติแห่งชาติ (The National Garde Meuble) ใน ค.ศ. 1812
ต่อมาในปี 1813 ณ กรุง ลอนดอน นายหน้าค้าเพชรนาม ดาเนียล เอเลียสัน (Daniel Eliason) ได้เพชรสีน้ำเงินเม็ดหนึ่งขนาด 44 กะรัตมาไว้ในครอบครอง ถึงแม้รูปร่างลักษณะจะไม่เหมือนเดิม แต่ด้วยความงามที่เป็นหนึ่งไม่มีสอง ทำให้ผู้ที่ได้พบเห็นเชื่อกันว่า มันก็คือเพชรน้ำเงินแห่งฝรั่งเศสที่ถูกเปลี่ยนรูปร่างไปเพื่อให้สะดวกต่อการ ขนย้ายข้ามชาติอย่างลับๆ กล่าวกันว่าผู้ที่ทำการเจียระไนคือ วิลเฮล์ม ฟาลส์ (Wilhlem Fals) นักเจียระไนชาวฮอลแลนด์ก็มีจุดจบอย่างน่าเศร้า ถูกบุตรชายของตนเองขโมยเพชรล้ำค่าไปจนตรอมใจตาย ในขณะที่บุตรคนนั้นในภายหลังก็ได้ฆ่าตัวตายอย่างไม่ทราบสาเหตุ
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ "VOTE" และ "SHARE"
ตำนาน คําสาป เพชรโฮป Hope Diamond
71 VOTES (4.7/5 จาก 15 คน)
หากคุณเป็นเจ้าของนิตยสาร/โมเดลลิ่ง เอเจนซี่ ต้องการโปรโมท สามารถส่ง e-mail แจ้งทีมงานให้ตั้งค่า username ของคุณเป็น Official User ได้ที่ info@postjung.com โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ