17สถานีรถไฟความเร็วสูง
โพสท์โดย ไอ้คิ้วสวยรถไฟความเร็วสูงจะพลิกโฉมการพัฒนาที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ โดยจะกระจายการพัฒนาไปยังหัวเมืองสำคัญๆ โดยเฉพาะจังหวัดที่เป็นที่ตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูง ยิ่งระยะเวลาในการเดินทางสั้นลงมาก ทำให้คนต่างจังหวัดไม่จำเป็นต้องซื้อที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ เพราะใช้รถไฟความเร็วสูงเดินทางกลับถิ่นฐานได้สะดวก
รัฐบาลจึงมีแผนสร้างเมืองใหม่ รอบแนวสภานีรถไฟ Hi-speed train เฟสแรก ทั้ง 17 สถานี ตามโมเดลต้นแบบที่ " ญี่ปุ่น "ทำสำเร็จมาแล้ว
นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" (30ก.ค.56)(*)ว่า กรมได้นำเสนอแนวคิดการพัฒนาเมืองใหม่รัศมีโดยรอบสถานีรถไฟความเร็วสูงในเฟสแรก เพื่อเป็นโมเดลเบื้องต้นที่จะนำร่องให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณา และได้รับความเห็นชอบใน หลักการแล้ว จากนั้นจะนำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
เฟสแรก 17 สถานี 4 ภูมิภาค กำหนดโซนนิ่งชัดเจน ที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม เล็งดึงเอกชนร่วมลงทุน 100,000 ล้าน ค่าก่อสร้าง-เวนคืน!!
สำหรับรูปแบบที่กรมโยธาธิการและผังเมืองนำเสนอ จุดที่ตั้งพื้นที่เมืองใหม่จะมีทุกสถานีที่รถไฟความเร็วสูงจอด โดยเฟสแรกอยู่ในแนว 4 สายทาง มี 17 แห่ง ประกอบด้วย
1)สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก 5 แห่ง ได้แก่ อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก
2)สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา 3 แห่ง ได้แก่ สระบุรี ปากช่อง นครราชสีมา
3)สายกรุงเทพฯ-หัวหิน 4 แห่ง ได้แก่ นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี หัวหิน และ
4)สายกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง 5 แห่ง ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา ระยอง
"เราพยายามจะเริ่มทำเป็นตัวอย่างก่อนที่สถานีปลายทางของทั้ง 4 ภูมิภาค คือ พิษณุโลก หัวหิน โคราช และระยอง"นาย มณฑลกล่าว
นายมณฑลยังกล่าวอีกว่า การพัฒนา จะเป็นรูปแบบเมืองขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่อยู่ที่ศักยภาพของแต่ละสถานี ล่าสุดยังไม่ได้ข้อสรุปกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ถึงจุดที่ตั้งสถานีแต่ละสายทาง แต่มีอยู่ 2 ทางเลือกคือ อยู่ที่ตัวสถานีเดิม หรือเลือกพื้นที่ใหม่
สำหรับการพัฒนาเมืองใหม่ควรจะเป็นพื้นที่โล่งขนาด 2,000-5,000 ไร่ขึ้นไป อยู่ห่างจากในเมืองประมาณ 5-10 กิโลเมตร เพื่อให้มีพื้นที่ในการพัฒนามาก ๆ อยู่ที่การตัดสินใจของ สนข .และรัฐบาลจะเห็นด้วยหรือไม่ แต่กรมโยธาธิการฯเสนอใน มุมมองด้านการวางผังเมืองเป็นหลัก
โดยแนวคิดการพัฒนาจะนำโมเดล เดียวกับที่ประเทศญี่ปุ่นดำเนินการมาเป็นต้นแบบ ด้วยการเพิ่มมูลค่ารอบสถานีรถไฟความเร็วสูงให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากเพื่อการเดินรถไฟฟ้าแล้ว จะต้องวางกรอบการพัฒนาพื้นที่รอบ ๆ สถานีเพื่อสร้างรายได้
ทั้งนี้แนวทางการพัฒนาจะมี 2 วิธีการ คือ
1) จัดวางผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะ ภายในจะกำหนดโซนนิ่งผังการพัฒนา ครบถ้วน อาทิ โซนที่อยู่อาศัย โซนสาธารณูปโภค เช่น ถนน สวนสาธารณะ โซนพาณิชยกรรม มีศูนย์การค้า ใช้เวลาประมาณ 1 ปี
2) การจัดรูปที่ดิน คาดว่าจะใช้เวลาสักระยะ เนื่องจากจะต้องมีกระบวนการจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และจัดแบ่งเฟสที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการ แนวทางนี้กรมจะร่วมกับหน่วยงานของรัฐตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมารองรับ หรืออาจจะให้รัฐและเอกชนร่วมกันลงทุนรูปแบบ PPP ก็ได้
รายงานล่าสุด(22 ต.ค. 56)(**)ในงานศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ จัดงานสัมมนาใหญ่ประจำปีภายใต้หัวข้อ
“นโยบายและการลงทุนภาครัฐผลต่อการพัฒนาตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ”
นางสิริรักษ์ ไสยวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการผังเมือง กรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า กรมฯได้ออกแบบและวางผังเมืองบริเวณโดยรอบสถานีของรถไฟความเร็วสูง ตาม 4 เส้นทาง ได้แก่ 1.สายเหนือ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก, 2. กรุงเทพ- หัวหิน 3.กรุงเทพฯ - นครราชสีมา และ 4. กรุงเทพฯ -ระยอง จากการประชุมคณะกรรมการจัดตั้งสถานี 17 สถานีใน 4 เส้นทาง ขณะนี้ได้ได้ข้อสรุปร่วมกันแล้ว 14 สถานี และมีอีก 3 สถานีที่คณะกรรมการมีความเห็นต่าง ซึ่งจะได้มาหาข้อสรุปกันภายหลัง
สำหรับที่ตั้งของทั้ง 17 สถานี(***) ได้ข้อสรุปแล้ว 14 สถานี เหลือ 3 สถานีที่ "สนข.-กรมโยธาฯ" ยังมีความเห็นไม่สอดคล้องกัน เริ่มที่สาย
"กรุงเทพฯ-พิษณุโลก" มี 5 สถานี ประกอบด้วย
1.)สถานีอยุธยา ขนาดพื้นที่ 9 ตร.กม. ยังไม่สรุปใช้สถานีรถไฟเดิม, อยู่ห่างจากสถานีรถไฟอยุธยาไปด้านใต้ 2 กม. ที่ ต.เกาะเรียนอ.พระนครศรีอยุธยา และสถานีชุมทางบ้านภาชี
2.)สถานีลพบุรี ขนาดพื้นที่ 9 ตร.กม. อยู่บริเวณสถานีบ้านป่าหวาย ต.ป่าตาล อ.เมือง จ.ลพบุรี ห่างจากสถานีรถไฟลพบุรีลงทางด้านใต้ 5 กม.
3.)สถานีนครสวรรค์ ขนาดพื้นที่ 9 ตร.กม. เป็นพื้นที่เปิดใหม่ติดถนนพหลโยธิน เป็นที่ราชพัสดุพื้นที่ 3,358 ไร่ บริเวณ ต.นครสวรรค์ออก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ห่างจากสถานีเดิมไปทางด้านซ้าย 2 กม. ห่างจากตัวเมือง 4 กม. ติดถนนพหลโยธิน
4.)สถานีพิจิตร ขนาดพื้นที่ 9 ตร.กม. เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ อยู่ห่างจากสถานีรถไฟเดิมขึ้นไปทางด้านเหนือ 1 กม. และ 5.สถานีพิษณุโลก ขนาดพื้นที่ 9 ตร.กม. ยังไม่สรุปจะเป็นสถานีรถไฟเดิม ที่พื้นที่มีหนาแน่น หรือห่างจากสถานีรถไฟลงมาด้านใต้ 4 กม. (ตรงข้ามกองบิน 46) ซึ่งโดยรอบยังเป็นพื้นที่โล่งและเกษตรกรรม
"สายกรุงเทพฯ-หัวหิน" มี 4 สถานี ประกอบด้วย
1.)สถานีนครปฐม ขนาดพื้นที่ 6 ตร.กม. จะใช้พื้นที่สถานีรถไฟท่าแฉลบ อยู่ห่างจากศูนย์กลางเมือง 8 กม.
2.)สถานีราชบุรี ขนาดพื้นที่ 3 ตร.กม. อยู่ห่างจากสถานีรถไฟราชบุรีเดิมลงมาด้านใต้ 3 กม.
3.)สถานีเพชรบุรี ขนาดพื้นที่ 2 ตร.กม. อยู่ห่างสถานีรถไฟเพชรบุรีไปทางเหนือ 2 กม.ในแนวถนนเพชรเกษม และ 4.สถานีหัวหิน (ประจวบคีรีขันธ์) ขนาดพื้นที่ 3.3 ตร.กม. อยู่บริเวณบ่อฝ้าย ฝั่งตรงข้ามด้านทิศใต้ของสนามบินบ่อฝ้าย ห่างจากตัวเมือง 6 กม. และห่างจาก อ.ชะอำ 17 กม.
"สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา" มี 3 สถานี ประกอบด้วย
1.)สถานีสระบุรี ขนาดพื้นที่ 5 ตร.กม. ห่างจากสถานีรถไฟสระบุรีไปทางตะวันออก 4 กม. (เยื้องห้างโรบินสัน)
2.)สถานีปากช่อง ขนา
รัฐบาลจึงมีแผนสร้างเมืองใหม่ รอบแนวสภานีรถไฟ Hi-speed train เฟสแรก ทั้ง 17 สถานี ตามโมเดลต้นแบบที่ " ญี่ปุ่น "ทำสำเร็จมาแล้ว
นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" (30ก.ค.56)(*)ว่า กรมได้นำเสนอแนวคิดการพัฒนาเมืองใหม่รัศมีโดยรอบสถานีรถไฟความเร็วสูงในเฟสแรก เพื่อเป็นโมเดลเบื้องต้นที่จะนำร่องให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณา และได้รับความเห็นชอบใน หลักการแล้ว จากนั้นจะนำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
เฟสแรก 17 สถานี 4 ภูมิภาค กำหนดโซนนิ่งชัดเจน ที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม เล็งดึงเอกชนร่วมลงทุน 100,000 ล้าน ค่าก่อสร้าง-เวนคืน!!
สำหรับรูปแบบที่กรมโยธาธิการและผังเมืองนำเสนอ จุดที่ตั้งพื้นที่เมืองใหม่จะมีทุกสถานีที่รถไฟความเร็วสูงจอด โดยเฟสแรกอยู่ในแนว 4 สายทาง มี 17 แห่ง ประกอบด้วย
1)สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก 5 แห่ง ได้แก่ อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก
2)สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา 3 แห่ง ได้แก่ สระบุรี ปากช่อง นครราชสีมา
3)สายกรุงเทพฯ-หัวหิน 4 แห่ง ได้แก่ นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี หัวหิน และ
4)สายกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง 5 แห่ง ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา ระยอง
"เราพยายามจะเริ่มทำเป็นตัวอย่างก่อนที่สถานีปลายทางของทั้ง 4 ภูมิภาค คือ พิษณุโลก หัวหิน โคราช และระยอง"นาย มณฑลกล่าว
นายมณฑลยังกล่าวอีกว่า การพัฒนา จะเป็นรูปแบบเมืองขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่อยู่ที่ศักยภาพของแต่ละสถานี ล่าสุดยังไม่ได้ข้อสรุปกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ถึงจุดที่ตั้งสถานีแต่ละสายทาง แต่มีอยู่ 2 ทางเลือกคือ อยู่ที่ตัวสถานีเดิม หรือเลือกพื้นที่ใหม่
สำหรับการพัฒนาเมืองใหม่ควรจะเป็นพื้นที่โล่งขนาด 2,000-5,000 ไร่ขึ้นไป อยู่ห่างจากในเมืองประมาณ 5-10 กิโลเมตร เพื่อให้มีพื้นที่ในการพัฒนามาก ๆ อยู่ที่การตัดสินใจของ สนข .และรัฐบาลจะเห็นด้วยหรือไม่ แต่กรมโยธาธิการฯเสนอใน มุมมองด้านการวางผังเมืองเป็นหลัก
โดยแนวคิดการพัฒนาจะนำโมเดล เดียวกับที่ประเทศญี่ปุ่นดำเนินการมาเป็นต้นแบบ ด้วยการเพิ่มมูลค่ารอบสถานีรถไฟความเร็วสูงให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากเพื่อการเดินรถไฟฟ้าแล้ว จะต้องวางกรอบการพัฒนาพื้นที่รอบ ๆ สถานีเพื่อสร้างรายได้
ทั้งนี้แนวทางการพัฒนาจะมี 2 วิธีการ คือ
1) จัดวางผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะ ภายในจะกำหนดโซนนิ่งผังการพัฒนา ครบถ้วน อาทิ โซนที่อยู่อาศัย โซนสาธารณูปโภค เช่น ถนน สวนสาธารณะ โซนพาณิชยกรรม มีศูนย์การค้า ใช้เวลาประมาณ 1 ปี
2) การจัดรูปที่ดิน คาดว่าจะใช้เวลาสักระยะ เนื่องจากจะต้องมีกระบวนการจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และจัดแบ่งเฟสที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการ แนวทางนี้กรมจะร่วมกับหน่วยงานของรัฐตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมารองรับ หรืออาจจะให้รัฐและเอกชนร่วมกันลงทุนรูปแบบ PPP ก็ได้
รายงานล่าสุด(22 ต.ค. 56)(**)ในงานศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ จัดงานสัมมนาใหญ่ประจำปีภายใต้หัวข้อ
“นโยบายและการลงทุนภาครัฐผลต่อการพัฒนาตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ”
นางสิริรักษ์ ไสยวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการผังเมือง กรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า กรมฯได้ออกแบบและวางผังเมืองบริเวณโดยรอบสถานีของรถไฟความเร็วสูง ตาม 4 เส้นทาง ได้แก่ 1.สายเหนือ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก, 2. กรุงเทพ- หัวหิน 3.กรุงเทพฯ - นครราชสีมา และ 4. กรุงเทพฯ -ระยอง จากการประชุมคณะกรรมการจัดตั้งสถานี 17 สถานีใน 4 เส้นทาง ขณะนี้ได้ได้ข้อสรุปร่วมกันแล้ว 14 สถานี และมีอีก 3 สถานีที่คณะกรรมการมีความเห็นต่าง ซึ่งจะได้มาหาข้อสรุปกันภายหลัง
สำหรับที่ตั้งของทั้ง 17 สถานี(***) ได้ข้อสรุปแล้ว 14 สถานี เหลือ 3 สถานีที่ "สนข.-กรมโยธาฯ" ยังมีความเห็นไม่สอดคล้องกัน เริ่มที่สาย
"กรุงเทพฯ-พิษณุโลก" มี 5 สถานี ประกอบด้วย
1.)สถานีอยุธยา ขนาดพื้นที่ 9 ตร.กม. ยังไม่สรุปใช้สถานีรถไฟเดิม, อยู่ห่างจากสถานีรถไฟอยุธยาไปด้านใต้ 2 กม. ที่ ต.เกาะเรียนอ.พระนครศรีอยุธยา และสถานีชุมทางบ้านภาชี
2.)สถานีลพบุรี ขนาดพื้นที่ 9 ตร.กม. อยู่บริเวณสถานีบ้านป่าหวาย ต.ป่าตาล อ.เมือง จ.ลพบุรี ห่างจากสถานีรถไฟลพบุรีลงทางด้านใต้ 5 กม.
3.)สถานีนครสวรรค์ ขนาดพื้นที่ 9 ตร.กม. เป็นพื้นที่เปิดใหม่ติดถนนพหลโยธิน เป็นที่ราชพัสดุพื้นที่ 3,358 ไร่ บริเวณ ต.นครสวรรค์ออก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ห่างจากสถานีเดิมไปทางด้านซ้าย 2 กม. ห่างจากตัวเมือง 4 กม. ติดถนนพหลโยธิน
4.)สถานีพิจิตร ขนาดพื้นที่ 9 ตร.กม. เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ อยู่ห่างจากสถานีรถไฟเดิมขึ้นไปทางด้านเหนือ 1 กม. และ 5.สถานีพิษณุโลก ขนาดพื้นที่ 9 ตร.กม. ยังไม่สรุปจะเป็นสถานีรถไฟเดิม ที่พื้นที่มีหนาแน่น หรือห่างจากสถานีรถไฟลงมาด้านใต้ 4 กม. (ตรงข้ามกองบิน 46) ซึ่งโดยรอบยังเป็นพื้นที่โล่งและเกษตรกรรม
"สายกรุงเทพฯ-หัวหิน" มี 4 สถานี ประกอบด้วย
1.)สถานีนครปฐม ขนาดพื้นที่ 6 ตร.กม. จะใช้พื้นที่สถานีรถไฟท่าแฉลบ อยู่ห่างจากศูนย์กลางเมือง 8 กม.
2.)สถานีราชบุรี ขนาดพื้นที่ 3 ตร.กม. อยู่ห่างจากสถานีรถไฟราชบุรีเดิมลงมาด้านใต้ 3 กม.
3.)สถานีเพชรบุรี ขนาดพื้นที่ 2 ตร.กม. อยู่ห่างสถานีรถไฟเพชรบุรีไปทางเหนือ 2 กม.ในแนวถนนเพชรเกษม และ 4.สถานีหัวหิน (ประจวบคีรีขันธ์) ขนาดพื้นที่ 3.3 ตร.กม. อยู่บริเวณบ่อฝ้าย ฝั่งตรงข้ามด้านทิศใต้ของสนามบินบ่อฝ้าย ห่างจากตัวเมือง 6 กม. และห่างจาก อ.ชะอำ 17 กม.
"สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา" มี 3 สถานี ประกอบด้วย
1.)สถานีสระบุรี ขนาดพื้นที่ 5 ตร.กม. ห่างจากสถานีรถไฟสระบุรีไปทางตะวันออก 4 กม. (เยื้องห้างโรบินสัน)
2.)สถานีปากช่อง ขนา
Credit: http://pantip.com/topic/31155366
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ "VOTE" และ "SHARE"
17สถานีรถไฟความเร็วสูง
39 VOTES (4.3/5 จาก 9 คน)
หากคุณเป็นเจ้าของนิตยสาร/โมเดลลิ่ง เอเจนซี่ ต้องการโปรโมท สามารถส่ง e-mail แจ้งทีมงานให้ตั้งค่า username ของคุณเป็น Official User ได้ที่ info@postjung.com โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ