ทุเรียนดีสายพันธุ์ใหม่ จันทบุรี 1-6(Hybrid durians Thailand new species # Chantaburi 1-6)
โพสท์โดยนับเป็นความสำเร็จอีกครั้งหนึ่งของนักวิชาการเกษตรไทยในการผสมพันธุ์ทุเรียนไทยได้ทุเรียนสายพันธุ์ใหม่ ที่มีกลิ่นน้อยมากหรือแทบไม่มีกลิ่นเลย ทำให้ประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะขยายตลาดทุเรียนไปยังตลาดใหม่ ๆ ทางยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งโดยปกติแล้วคนฝรั่งส่วนใหญ่มักจะไม่ชอบกลิ่นทุเรียน ดูเหมือนว่าสื่อต่างประเทศจะให้ความสนใจในความสำเร็จของการพัฒนาสายพันธุ์ทุเรียนในครั้งนี้เป็นอย่างมาก
ดร.ทรงพล สมศรี นักวิชาการเกษตร 8 จากสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร จบการศึกษาทางด้านปริญญาเอก ทางด้านปรับปรุงพันธุ์พืชและเทคโนโลยีชีวภาพทางพืชสวนจาก ประเทศออสเตรเลีย ได้รวบรวมพันธุ์ทุเรียนต่อจากของเดิมที่มีนักวิชาการเกษตรรวบรวมอยู่แล้วของศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี โดยมีหลักและขั้นตอนตามหลักวิชาการเริ่มต้นจากการรวบรวมเชื้อพันธุ์และทำการศึกษาลักษณะของแต่ละสายพันธุ์ว่าเป็นอย่างไร เช่น รูปทรง, รสชาติ, สี และการเจริญเติบโต หลังจากนั้นจะคัดเลือกต้นนำไปใช้ เป็นพ่อ-แม่พันธุ์ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2529-2533 ดร.ทรงพลได้ทำการคัดเลือก 18 พ่อ-แม่พันธุ์ นำไปผสมพันธุ์กันได้ 55 คู่ผสม ได้ทุเรียนประมาณ 7,000 ลูกผสมจากการเพาะเมล็ด ดร.ทรงพลได้นำต้นกล้าเหล่านี้ไปทดลองปลูก บางส่วนนำเอาไปทาบฝากกับต้นทุเรียนที่ให้ผลผลิตแล้วเพื่อต้องการให้เห็นผลผลิตเร็วขึ้นซึ่งจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 4-5 ปี แต่ถ้าปลูกด้วยเมล็ดจะต้องใช้เวลานานถึง 7-8 ปี ถึงจะให้ผลผลิต
นักวิจัยของกรมวิชาการเกษตร กำลังทำการวิจัยเพื่อผลิตทุเรียนไร้หนาม เพราะที่ผ่านมาหนามอันแหลมคมของทุเรียน ก่อให้เกิดปัญหาความไม่สะดวกในการหยิบจับ โดยเฉพาะการบรรจุหีบห่อเพื่อการส่งออก ทำให้แนวคิด การวิจัยเรื่องทุเรียนไร้หนามในเมืองไทยจึงบังเกิดขึ้น
โดยดร.ทรงพล สมศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ระบุว่าได้มีการนำกิ่งพันธุ์ทุเรียนไร้หนามมาจากประเทศฟิลิปปินส์ประมาณปี 2526 และได้นำมาปลูกที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี นำเกสรที่ได้มาผสมกับทุเรียนพันธุ์ทางการค้าของไทย เช่นพันธุ์ชะนี พันธุ์กระดุม จนได้ลูกทุเรียนรุ่นแรกที่คุณผู้ชมกำลังเห็นอยู่นี้ ซึ่งขั้นต่อไปจะนำเมล็ดทุเรียนที่ได้จากรุ่นนี้ไปผสมตัวเองเพื่อให้ได้ทุเรียนที่มีหนามน้อย จนถึงขั้นไร้หนาม แต่ต้องมีรสชาติ และสีสันที่น่ารับประทาน ซึ่งคงต้องใช้เวลาวิจัยอีกประมาณ 7 ถึง 8 ปี จึงจะสามารถเผยแพร่พันธุ์ให้กับเกษตรกรได้
นอกจากนี้แล้ว กรมวิชาการเกษตรยังประสบความสำเร็จในการผลิตทุเรียนพันธุ์ที่มีกลิ่นน้อย โดยใช้ชื่อว่าจันทบุรี 1 ซึ่งเป็นพันธุ์ผสมระหว่างพันธุ์ชะนี กับหมอนทอง พิสูจน์แล้วยืนยันว่ามีกลิ่นน้อยกว่าทุเรียนพันธุ์อื่น ๆ โดยใช้เวลาในการปรับปรุงพันธุ์นานถึง 20 ปี นอกจากนี้ยังมีพันธุ์จันทบุรี 2 และจันทบุรี 3 ซึ่งเป็นลูกผสมเช่นกัน มีความโดดเด่นที่รสชาติ และสีสันของทุเรียน
และในอนาคตอันใกล้ทุเรียนพันธุ์จันทบุรี 4 และจันทบุรี 5 ซึ่งเป็นพันธุ์ลูกผสมระหว่างหมอนทอง กับก้านยาว ก็กำลังจะแล้วเสร็จ ซึ่งจะทำให้ได้ทุเรียนพันธุ์พรีเมี่ยม ทั้งรสชาติ สีสัน และกลิ่น ตอบสนองความต้องการของตลาด โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ
ข้อมูลอ้างอิง : ชมรมคนรักทุเรียนแห่งประเทศไทย
ดร.ทรงพล สมศรี นักวิชาการเกษตร 8 จากสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร จบการศึกษาทางด้านปริญญาเอก ทางด้านปรับปรุงพันธุ์พืชและเทคโนโลยีชีวภาพทางพืชสวนจาก ประเทศออสเตรเลีย ได้รวบรวมพันธุ์ทุเรียนต่อจากของเดิมที่มีนักวิชาการเกษตรรวบรวมอยู่แล้วของศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี โดยมีหลักและขั้นตอนตามหลักวิชาการเริ่มต้นจากการรวบรวมเชื้อพันธุ์และทำการศึกษาลักษณะของแต่ละสายพันธุ์ว่าเป็นอย่างไร เช่น รูปทรง, รสชาติ, สี และการเจริญเติบโต หลังจากนั้นจะคัดเลือกต้นนำไปใช้ เป็นพ่อ-แม่พันธุ์ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2529-2533 ดร.ทรงพลได้ทำการคัดเลือก 18 พ่อ-แม่พันธุ์ นำไปผสมพันธุ์กันได้ 55 คู่ผสม ได้ทุเรียนประมาณ 7,000 ลูกผสมจากการเพาะเมล็ด ดร.ทรงพลได้นำต้นกล้าเหล่านี้ไปทดลองปลูก บางส่วนนำเอาไปทาบฝากกับต้นทุเรียนที่ให้ผลผลิตแล้วเพื่อต้องการให้เห็นผลผลิตเร็วขึ้นซึ่งจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 4-5 ปี แต่ถ้าปลูกด้วยเมล็ดจะต้องใช้เวลานานถึง 7-8 ปี ถึงจะให้ผลผลิต
นักวิจัยของกรมวิชาการเกษตร กำลังทำการวิจัยเพื่อผลิตทุเรียนไร้หนาม เพราะที่ผ่านมาหนามอันแหลมคมของทุเรียน ก่อให้เกิดปัญหาความไม่สะดวกในการหยิบจับ โดยเฉพาะการบรรจุหีบห่อเพื่อการส่งออก ทำให้แนวคิด การวิจัยเรื่องทุเรียนไร้หนามในเมืองไทยจึงบังเกิดขึ้น
โดยดร.ทรงพล สมศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ระบุว่าได้มีการนำกิ่งพันธุ์ทุเรียนไร้หนามมาจากประเทศฟิลิปปินส์ประมาณปี 2526 และได้นำมาปลูกที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี นำเกสรที่ได้มาผสมกับทุเรียนพันธุ์ทางการค้าของไทย เช่นพันธุ์ชะนี พันธุ์กระดุม จนได้ลูกทุเรียนรุ่นแรกที่คุณผู้ชมกำลังเห็นอยู่นี้ ซึ่งขั้นต่อไปจะนำเมล็ดทุเรียนที่ได้จากรุ่นนี้ไปผสมตัวเองเพื่อให้ได้ทุเรียนที่มีหนามน้อย จนถึงขั้นไร้หนาม แต่ต้องมีรสชาติ และสีสันที่น่ารับประทาน ซึ่งคงต้องใช้เวลาวิจัยอีกประมาณ 7 ถึง 8 ปี จึงจะสามารถเผยแพร่พันธุ์ให้กับเกษตรกรได้
นอกจากนี้แล้ว กรมวิชาการเกษตรยังประสบความสำเร็จในการผลิตทุเรียนพันธุ์ที่มีกลิ่นน้อย โดยใช้ชื่อว่าจันทบุรี 1 ซึ่งเป็นพันธุ์ผสมระหว่างพันธุ์ชะนี กับหมอนทอง พิสูจน์แล้วยืนยันว่ามีกลิ่นน้อยกว่าทุเรียนพันธุ์อื่น ๆ โดยใช้เวลาในการปรับปรุงพันธุ์นานถึง 20 ปี นอกจากนี้ยังมีพันธุ์จันทบุรี 2 และจันทบุรี 3 ซึ่งเป็นลูกผสมเช่นกัน มีความโดดเด่นที่รสชาติ และสีสันของทุเรียน
และในอนาคตอันใกล้ทุเรียนพันธุ์จันทบุรี 4 และจันทบุรี 5 ซึ่งเป็นพันธุ์ลูกผสมระหว่างหมอนทอง กับก้านยาว ก็กำลังจะแล้วเสร็จ ซึ่งจะทำให้ได้ทุเรียนพันธุ์พรีเมี่ยม ทั้งรสชาติ สีสัน และกลิ่น ตอบสนองความต้องการของตลาด โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ
ข้อมูลอ้างอิง : ชมรมคนรักทุเรียนแห่งประเทศไทย
Tags ที่เกี่ยวข้อง : ทุเรียน DURIAN
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ "VOTE" และ "SHARE"
ทุเรียนดีสายพันธุ์ใหม่ จันทบุรี 1-6(Hybrid durians Thailand new species # Chantaburi 1-6)
44 VOTES (4.9/5 จาก 9 คน)
หากคุณเป็นเจ้าของนิตยสาร/โมเดลลิ่ง เอเจนซี่ ต้องการโปรโมท สามารถส่ง e-mail แจ้งทีมงานให้ตั้งค่า username ของคุณเป็น Official User ได้ที่ info@postjung.com โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ