ทุเรียนนนท์ ปี57 ถึงมีน้อยแต่ก็พอได้ชิมกัน
โพสท์โดยพูดถึงทุเรียนแล้ว บรรดาเซียนทุเรียนทั้งหลายจะพูดถึงแต่ทุเรียนเมืองนนท์ เพราะเป็นแหล่งที่ได้รับการบอกเล่ากันต่อๆมาว่าปลูกก่อนใคร มีรสชาดดีน่ารับประทาน (ถึงกับกล่าวกันว่ารสชาดดีที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้) ต่อมามีการขยายพื้นที่ปลูกไปยังจังหวัดปทุมธานีซึ่งเป็นเมืองติดต่อกัน หลังจากนั้นก็ขยายไปปลูกทางภาคตะวันออก ภาคใต้ แม้แต่ภาคอิสานตอนใต้ในปัจจุบัน แต่บรรดานักกินทุเรียนทั้งหลายแทบจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ทุเรียนที่ปลูกจากที่อื่นๆนั้นอร่อยสู้ทุเรียนเมืองนนท์ไม่ได้
จากการขยายตัวของเมือง ทำให้เมืองนนทบุรี ปทุมธานี กลายเป็นแหล่งธุรกิจและที่อยู่อาศัยสำคัญ เกิดการบุกรุกสวนทุเรียนทำให้ปริมาณการผลิตทุเรียนแถวเมืองนนทบุรีลดลงจำนวนมาก จึงเกิดการรวมตัวกันของกลุ่มเกษตรกรชาวสวนทุเรียน มีองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นตัวตั้งตัวตีในการที่จะอนุรักษ์การปลูกทุเรียนนนทบุรีขึ้น มีการจัดกิจกรรมและประชาสัมพันธ์ “ของดีเมืองนนท์” โดยเน้นถึงคุณภาพของทุเรียนอย่างต่อเนื่องในแต่ละปี
กลุ่มเกษตรกรทุเรียนเมืองนนทบุรีร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ได้จัดทำ Bill Broad แสดงการแบ่งทุเรียนออกเป็น 6 กลุ่มพันธุ์ ขออนุญาตคัดลอกลงในเว็บไซท์เพื่อเป็นความรู้กับคนทั่วๆไป
1. กลุ่มกบ ลักษณะประจำพันธุ์ ลำต้นมีทรงพ่มแคบ สูงใหญ่และตั้งคล้ายต้นสน ใบเป็นรูปไข่ค่อนข้างยาว ขอบใบเรียบ ฐานใบจะป้านแต่ปลายใบแหลม ลักษณะผลค่อนข้างใหญ่ตามพันธุ์ของกบแต่ละชนิด บ้างก็เปลือกหนา พูลีบไม่ค่อยมีเนื้อเท่าไร เนื้อละเอียดปานกลาง นิ่ม สีเหลืองวานหอม ทุเรียนในกลุ่มนี้ได้แก่ กบแม่เฒ่า กบตาขำ กบตาเฒ่าหรือตาเต่า กบชายน้ำ กบสาวน้อย
2. กลุ่มทองย้อย เป็นทุเรียนนนท์ที่ยังมีให้เห็นอยู่ จากการสันนิษฐานว่า “ทองย้อย” ถือได้ว่าเป็นแม่พันธุ์หลักของทุเรียนมาช้านาน มีลักษณะทรงพุ่มค่อนข้างกลม ใหญ่ และแข็งแรง ใบมีขนาดใหญ่กว่าตระกูลอื่น ลักษณะผลโต ทรงผลอ่อนป้อม กลางผลจะป่องออก บริเวณก้นผลจะย้อยตามชื่อที่เรียกกัน หนามจะใหญ่ เนื้อมาก สีเหลือง กลิ่นไม่ฉุน รสชาดหวานมันมากพอเหมาะ ทุเรียนในกลุ่มนี้ได้แก่ ทองย้อยเดิม ทับทิม ธรณีไทย พวงฉัตรทอง พวงฉัตร ทองย้อยฉัตร ฉัตร นกหยิบ แดงรัศมี นมสวรรค์ อีอึ่ง ฉัตรสีนาค
3. กลุ่มก้านยาว ถือเป็นสุดยอดของทุเรียนนนท์ เพราะมีราคาแพง หากินยาก รสชาดอร่อยมาก ทั้งหวานมันกลมกล่อม ผลทุเรียนก้านยาว จะมีให้เห็นสองทรง คือทรงกลมและทรงฮวด จะมี 6 พูหนามซึ่งมีขนาดโตเกือบเสมอกัน พันธุ์นี้จะมีก้านยาวกว่าพันธุ์อื่น เปลือกค่อนข้างหนา เนื้อมีลักษณะละเอียด นิ่ม สีเหลือง รสชาดหวานมัน กลมกล่อม เมล็ดกลม ก้านยาวของเมืองนนท์นั้นสีของเนื้อจะเข้มกว่าทุเรียนก้านยาวนอกหรือทุเรียนที่มาจากต่างจังหวัด ทุเรียนตระกูลก้านยาวในนนทบุรีนิยมปลูกกันทุกสวน เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมาก ทุเรียนในกลุ่มนี้ได้แก่ ก้านยาว ชมพูบาน ก้านยาวใบด่าง ทองสุก ก้านยาวพวง ก้านยาววัดสัก(เหลืองประเสริฐ) ก้านยาวสีนาค
4. กลุ่มกำปั่น ชื่อเดิมเรียกกันว่า “กำปั่นเดิม” ลักษณะทรงพุ่มค่อนข้างแคบ รูปคล้ายกรวยคว่ำ มียอดเรียวแหลม ลำต้นอ้วนแข็งแรง สูงและตั้งตรง พันธุ์ที่จัดอยู่ในตระกูลกำปั่นมีอยู่หลายพันธุ์ แต่ที่นิยมปลูกกันมากที่สุดในนนทบุรีนั้นก็คือหมอนทอง สาเหตุที่ทำความนิยมเฉพาะพันธุ์นี้ก็คือปลูกง่าย เนื้อหนา รสชาดดี เก็บได้นาน และหาซื้อได้ง่านกว่าพันธุ์อื่น ทุเรียนในกลุ่มนี้ได้แก่ หมอนทอง กำปั่นตาแพ กำปั่นเจ้ากรม กำปั่นฟองชายมะไฟ
5. กลุ่มลวง มีลักษณะทรงพุ่มโปร่ง ค่อนข้างกว้าง ไม่สูงมากนัก ลำต้นมักจะนอนไปกับพื้นดิน กิ่งไม่เป็นระเบียบ ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ค่อนข้างยาวและมีขนาดใหญ่ ผลของทุเรียนตระกูลนี้ ลูกยาว พูไม่สม่ำเสมอ เปลือกจะบาง เนื้อมีลักษณะเป็นเส้นค่อนข้างหยาบ สีเหลืองปานกลาง รสหวานแหลมแต่มันน้อย กลิ่นจะฉุนกว่าพันธุ์อื่นๆ ทุเรียนตระกูลนี้ทุกพันธุ์มีรสชาดอร่อย และมีถิ่นกำเนิดในนนทบุรีทุกสายพันธุ์ ทุเรียนพันธุ์นี้ได้แก่ ลวงเขียว ลวงทอง ชะนี ชะนีไข่ ยำมะหวาด ชมพูศรี
6. กลุ่มเบ็ดเตล็ด เป็นทุเรียนทั่วไปที่ไม่ค่อยพูดถึงกันที่ยังเหลืออยู่มาก เพราะในปัจจุบันค่าทางเศรษฐกิจของทุเรียนจำพวกนี้ไม่มี ถึงรสชาดจะอร่อยอย่างไร หายากแค่ไหนก็หาคนซื้อลำบาก ได้แก่ กระดุมทอง กระดุมเขียว นกกระจิบหรือจอกลอย ปิ่นทอง
สวนทุเรียนนนท์ที่เหลืออยู่หลังจากประสบอุทกภัยในปี 54 มีน้อยมากอันนี้เรื่องจริง แต่ที่แน่นอนกว่านั้น ยังมีชาวสวนนนทบุรีที่มีผลผลิตทุเรียนนนท์เอาออกมาขายแต่ขายกันยากลำบากเพราะถูกบุคคลพวกนี้โจมตีว่าไม่แท้ ไม่รับรองบ้างหล่ะอะไรต่อมิอะไร ให้ข่าวกันต่างๆนาๆว่าทุเรียนนนท์หมดแล้ว จะหมดได้ยังไงผมเห็นมากับตา บางสวนเอามาขายหน้าถนนสุกจนแตกอ้าขายกัน 300-400 ต่อผล ผมไปช่วยอุดหนุนเขามาก็เยอะ เพราะสงสารป้าๆที่มานะพยายามปลูกทุเรียนให้อยู่คู่เมืองนนท์
เครตดิต// ชมรมคนรักทุเรียนแห่งประเทศไทย
จากการขยายตัวของเมือง ทำให้เมืองนนทบุรี ปทุมธานี กลายเป็นแหล่งธุรกิจและที่อยู่อาศัยสำคัญ เกิดการบุกรุกสวนทุเรียนทำให้ปริมาณการผลิตทุเรียนแถวเมืองนนทบุรีลดลงจำนวนมาก จึงเกิดการรวมตัวกันของกลุ่มเกษตรกรชาวสวนทุเรียน มีองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นตัวตั้งตัวตีในการที่จะอนุรักษ์การปลูกทุเรียนนนทบุรีขึ้น มีการจัดกิจกรรมและประชาสัมพันธ์ “ของดีเมืองนนท์” โดยเน้นถึงคุณภาพของทุเรียนอย่างต่อเนื่องในแต่ละปี
กลุ่มเกษตรกรทุเรียนเมืองนนทบุรีร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ได้จัดทำ Bill Broad แสดงการแบ่งทุเรียนออกเป็น 6 กลุ่มพันธุ์ ขออนุญาตคัดลอกลงในเว็บไซท์เพื่อเป็นความรู้กับคนทั่วๆไป
1. กลุ่มกบ ลักษณะประจำพันธุ์ ลำต้นมีทรงพ่มแคบ สูงใหญ่และตั้งคล้ายต้นสน ใบเป็นรูปไข่ค่อนข้างยาว ขอบใบเรียบ ฐานใบจะป้านแต่ปลายใบแหลม ลักษณะผลค่อนข้างใหญ่ตามพันธุ์ของกบแต่ละชนิด บ้างก็เปลือกหนา พูลีบไม่ค่อยมีเนื้อเท่าไร เนื้อละเอียดปานกลาง นิ่ม สีเหลืองวานหอม ทุเรียนในกลุ่มนี้ได้แก่ กบแม่เฒ่า กบตาขำ กบตาเฒ่าหรือตาเต่า กบชายน้ำ กบสาวน้อย
2. กลุ่มทองย้อย เป็นทุเรียนนนท์ที่ยังมีให้เห็นอยู่ จากการสันนิษฐานว่า “ทองย้อย” ถือได้ว่าเป็นแม่พันธุ์หลักของทุเรียนมาช้านาน มีลักษณะทรงพุ่มค่อนข้างกลม ใหญ่ และแข็งแรง ใบมีขนาดใหญ่กว่าตระกูลอื่น ลักษณะผลโต ทรงผลอ่อนป้อม กลางผลจะป่องออก บริเวณก้นผลจะย้อยตามชื่อที่เรียกกัน หนามจะใหญ่ เนื้อมาก สีเหลือง กลิ่นไม่ฉุน รสชาดหวานมันมากพอเหมาะ ทุเรียนในกลุ่มนี้ได้แก่ ทองย้อยเดิม ทับทิม ธรณีไทย พวงฉัตรทอง พวงฉัตร ทองย้อยฉัตร ฉัตร นกหยิบ แดงรัศมี นมสวรรค์ อีอึ่ง ฉัตรสีนาค
3. กลุ่มก้านยาว ถือเป็นสุดยอดของทุเรียนนนท์ เพราะมีราคาแพง หากินยาก รสชาดอร่อยมาก ทั้งหวานมันกลมกล่อม ผลทุเรียนก้านยาว จะมีให้เห็นสองทรง คือทรงกลมและทรงฮวด จะมี 6 พูหนามซึ่งมีขนาดโตเกือบเสมอกัน พันธุ์นี้จะมีก้านยาวกว่าพันธุ์อื่น เปลือกค่อนข้างหนา เนื้อมีลักษณะละเอียด นิ่ม สีเหลือง รสชาดหวานมัน กลมกล่อม เมล็ดกลม ก้านยาวของเมืองนนท์นั้นสีของเนื้อจะเข้มกว่าทุเรียนก้านยาวนอกหรือทุเรียนที่มาจากต่างจังหวัด ทุเรียนตระกูลก้านยาวในนนทบุรีนิยมปลูกกันทุกสวน เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมาก ทุเรียนในกลุ่มนี้ได้แก่ ก้านยาว ชมพูบาน ก้านยาวใบด่าง ทองสุก ก้านยาวพวง ก้านยาววัดสัก(เหลืองประเสริฐ) ก้านยาวสีนาค
4. กลุ่มกำปั่น ชื่อเดิมเรียกกันว่า “กำปั่นเดิม” ลักษณะทรงพุ่มค่อนข้างแคบ รูปคล้ายกรวยคว่ำ มียอดเรียวแหลม ลำต้นอ้วนแข็งแรง สูงและตั้งตรง พันธุ์ที่จัดอยู่ในตระกูลกำปั่นมีอยู่หลายพันธุ์ แต่ที่นิยมปลูกกันมากที่สุดในนนทบุรีนั้นก็คือหมอนทอง สาเหตุที่ทำความนิยมเฉพาะพันธุ์นี้ก็คือปลูกง่าย เนื้อหนา รสชาดดี เก็บได้นาน และหาซื้อได้ง่านกว่าพันธุ์อื่น ทุเรียนในกลุ่มนี้ได้แก่ หมอนทอง กำปั่นตาแพ กำปั่นเจ้ากรม กำปั่นฟองชายมะไฟ
5. กลุ่มลวง มีลักษณะทรงพุ่มโปร่ง ค่อนข้างกว้าง ไม่สูงมากนัก ลำต้นมักจะนอนไปกับพื้นดิน กิ่งไม่เป็นระเบียบ ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ค่อนข้างยาวและมีขนาดใหญ่ ผลของทุเรียนตระกูลนี้ ลูกยาว พูไม่สม่ำเสมอ เปลือกจะบาง เนื้อมีลักษณะเป็นเส้นค่อนข้างหยาบ สีเหลืองปานกลาง รสหวานแหลมแต่มันน้อย กลิ่นจะฉุนกว่าพันธุ์อื่นๆ ทุเรียนตระกูลนี้ทุกพันธุ์มีรสชาดอร่อย และมีถิ่นกำเนิดในนนทบุรีทุกสายพันธุ์ ทุเรียนพันธุ์นี้ได้แก่ ลวงเขียว ลวงทอง ชะนี ชะนีไข่ ยำมะหวาด ชมพูศรี
6. กลุ่มเบ็ดเตล็ด เป็นทุเรียนทั่วไปที่ไม่ค่อยพูดถึงกันที่ยังเหลืออยู่มาก เพราะในปัจจุบันค่าทางเศรษฐกิจของทุเรียนจำพวกนี้ไม่มี ถึงรสชาดจะอร่อยอย่างไร หายากแค่ไหนก็หาคนซื้อลำบาก ได้แก่ กระดุมทอง กระดุมเขียว นกกระจิบหรือจอกลอย ปิ่นทอง
สวนทุเรียนนนท์ที่เหลืออยู่หลังจากประสบอุทกภัยในปี 54 มีน้อยมากอันนี้เรื่องจริง แต่ที่แน่นอนกว่านั้น ยังมีชาวสวนนนทบุรีที่มีผลผลิตทุเรียนนนท์เอาออกมาขายแต่ขายกันยากลำบากเพราะถูกบุคคลพวกนี้โจมตีว่าไม่แท้ ไม่รับรองบ้างหล่ะอะไรต่อมิอะไร ให้ข่าวกันต่างๆนาๆว่าทุเรียนนนท์หมดแล้ว จะหมดได้ยังไงผมเห็นมากับตา บางสวนเอามาขายหน้าถนนสุกจนแตกอ้าขายกัน 300-400 ต่อผล ผมไปช่วยอุดหนุนเขามาก็เยอะ เพราะสงสารป้าๆที่มานะพยายามปลูกทุเรียนให้อยู่คู่เมืองนนท์
เครตดิต// ชมรมคนรักทุเรียนแห่งประเทศไทย
Tags ที่เกี่ยวข้อง : ทุเรียน
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ "VOTE" และ "SHARE"
ทุเรียนนนท์ ปี57 ถึงมีน้อยแต่ก็พอได้ชิมกัน
25 VOTES (5/5 จาก 5 คน)
หากคุณเป็นเจ้าของนิตยสาร/โมเดลลิ่ง เอเจนซี่ ต้องการโปรโมท สามารถส่ง e-mail แจ้งทีมงานให้ตั้งค่า username ของคุณเป็น Official User ได้ที่ info@postjung.com โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ