Share Facebook LINE Twitter
หน้าแรก เว็บบอร์ด Chat ตรวจหวย ควิซ คำนวณ Pageแชร์ลิ้ง
หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
หน้ารวม Pic Post Pic Post ของฉัน สุดยอด Pic Post สุดยอดนักโพสท์คลังรูปค้นหา Pic PostPost รูป
ดูรายการโปรด เพิ่มเป็นรายการโปรด

บารอเนส แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร

โพสท์โดย

มาร์กาเรต ฮิลดา แทตเชอร์ (อังกฤษ: Margaret Thatcher) หรือนามตามบรรดาศักดิ์ บารอเนส แทตเชอร์ (ชื่อเดิม มาร์กาเรต ฮิลดา โรเบิตส์; 13 ตุลาคม พ.ศ. 2468 – 8 เมษายน พ.ศ. 2556) นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ถึง พ.ศ. 2533 และเป็นผู้นำพรรคอนุรักษนิยมตั้งแต่ พ.ศ. 2518 ถึงปี พ.ศ. 2533 โดยเป็นผู้หญิงคนแรกและคนเดียวจนถึงปัจจุบัน ที่ดำรงทั้งสองตำแหน่งพร้อมกันในประวัติศาสตร์สหราชอาณาจักร

บารอนเนสแทตเชอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรเป็นเวลายาวนานที่สุดนับตั้งแต่สมัยของลอร์ดซอลส์เบอรี และอยู่ในตำแหน่งติดต่อกันยาวนานที่สุดนับตั้งแต่สมัยของลอร์ดลิเวอร์พูล นายกรัฐมนตรีในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นสตรีคนแรกที่นำพรรคการเมืองเสียงข้างมากของสหราชอาณาจักร และเป็นสตรีคนแรกของเพียงสามคนที่ได้ดำรงหนึ่งในสี่ตำแหน่งสำคัญของประเทศ หลังจากการเกษียณตัวเองจากการเมืองในปีค.ศ. 1992 มาร์กาเรต แทตเชอร์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ขุนนางตลอดชีพเป็น 'บารอนเนสแทตเชอร์แห่งเมืองเคสตีเวน ในมณฑลลิงคอล์นไชร์ ซึ่งทำให้เธอได้มีโอกาสนั่งในสภาขุนนางของสหราชอาณาจักร บารอนเนสแทตเชอร์ถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556 ด้วยอาการอุดตันของเส้นเลือดสมอง

ชีวิตวัยเด็กและการศึกษา[แก้]
นางแทตเชอร์เกิดที่เมืองแกรนแทมในมณฑลลิงคอล์นไชร์ บิดาคือ อัลเฟรด โรเบิตส์ ซึ่งเป็นเจ้าของร้านขายของชำในเมืองและได้มีส่วนร่วมในการเมืองและศาสนาของท้องถิ่น โดยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดและเป็นฆราวาสนักเทศน์ในนิกายเมโทดิสต์ โรเบิรตส์มาจากครอบครัวพรรคเสรีนิยม แต่ไม่ได้สังกัดพรรคใด ด้วยถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของการเมืองท้องถิ่นในสมัยนั้น เขาเสียตำแหน่งผู้ว่าราชการไปในปี พ.ศ. 2495 หลังจากที่พรรคเสรีนิยมชนะเสียงข้างมากเป็นครั้งแรกในสภาเมืองแกรนแทมในปี พ.ศ. 2493 อัลเฟรดได้แต่งงานกับเบียทริซ สตีเฟนสัน และได้มีบุตรีสองคน (คือนางแทตเชอร์กับ มูเรียล ซึ่งเป็นพี่สาว ; เกิด: พ.ศ. 2464; ถึงแก่กรรม: พ.ศ. 2547) แทตเชอร์ได้รับการเลี้ยงดูแบบลัทธิเมโทดิสต์ที่เคร่งครัดศาสนาและยังคงเป็นคริสต์ศาสนิกชนมาตลอดชีวิต แทตเชอร์ได้รับการศึกษาอย่างดี โดยเข้าเรียนในโรงเรียนเด็กหญิงเคสตีเวนและแกรนแธม และต่อมาในปี พ.ศ. 2487 ก็ได้เข้าเรียนในวิทยาลัยซอเมอร์วิลล์ เมืองออกซ์ฟอร์ด เพื่อเรียนวิชาเคมี โดยเลือกลงเรียนเอกวิชาผลิกศาสตร์ แทตเชอร์ได้รับตำแหน่งประธานสมาคมอนุรักษนิยมแห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดในปี พ.ศ. 2489 โดยเป็นสตรีคนที่สามที่อยู่ในตำแหน่งนี้ แทตเชอร์จบการศึกษาเกียรตินิยมและเข้าทำงานเป็นนักเคมีวิจัยให้แก่ British Xylonite และ บริษัท J. Lyons and Co. โดยได้ช่วยเหลือในการพัฒนาวิธีการในการเก็บรักษาไอศกรีม แทตเชอร์เป็นสมาชิกในทีมที่พัฒนาไอศกรีมแบบอ่อนนุ่มเป็นรายแรก แทตเชอร์ยังเป็นสมาชิกของสมาคมผู้ทำงานด้านวิทยาศาสตร์อีกด้วย

ชีวิตทางการเมือง[แก้]
นางแทตเชอร์เข้าสู่การเมืองได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งฟินช์เลย์เป็นครั้งแรก พ.ศ. 2502 ร่วมเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลเงา พ.ศ. 2510 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์ในปี พ.ศ. 2513-2517 เป็นอัครมหาเสนาบดีเงาร่วม (joint shadow Chancellor) พ.ศ. 2517-18 และใน พ.ศ. 2520 ได้รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมแทนนายเอดเวิร์ด ฮีท แทตเชอร์เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองสตรีคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของอังกฤษ ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรหลังจากชนะการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2522[1]

ด้วยการนำโดยแทตเชอร์ พรรคอนุรักษนิยมได้กลายเป็นพรรคขวาจัดมากขึ้น ทำให้การเมืองและสังคมของประเทศอังกฤษแบ่งขั้วมากที่สุดนับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลแทตเชอร์ได้ใช้นโยบายปฏิรูปที่ค่อนข้างรุนแรง สนับสนุนกิจการเอกชน แปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภคที่รัฐบาลก่อน ๆ ยึดเป็นของรัฐคืนเอกชนด้วยการกระจายหุ้น ลดบทบาทสหภาพแรงงาน ลดภาษีเงินได้ และพยายามจัดตั้งบรรษัทขึ้นดูแลการศึกษาและสาธารณสุขที่เป็นหน้าที่ของรัฐ

นางแทตเชอร์ได้รับเลือกกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลวาระที่ 2 ในปี พ.ศ. 2526 โดยได้เสียงข้างมากทั้ง ๆ ที่อัตราการว่างงานของอังกฤษต่ำที่สุดในรอบ 50 ปี สงครามฟอล์กแลนด์และความระส่ำระสายของพรรคฝ่ายค้านทำให้ความนิยมแทตเชอร์เพิ่มมากขึ้นและได้รับเลือกกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลวาระที่ 3 ในปี พ.ศ. 2530 และเมื่อถึงปี พ.ศ. 2531 แทตเชอร์ได้ทำสถิติกลายเป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดในคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 แทตเชอร์ได้รับการขนานนามว่า “ลัทธิแทตเชอร์” (Thatcherism) และด้วยเหตุผลที่แทตเชอร์เป็นผู้ดึงดันยึดมั่นในนโยบายอย่างมั่นคงไม่ว่าจะถูกคัดค้านจากนักวิจารณ์ว่าอย่างไร รวมทั้งจากการกังขาไม่แน่ใจของผู้สนับสนุนรัฐบาลเองด้วย


ตราประจำตำแหน่งของบารอนเนสแทตเชอร์ ภาพนายพลเรือแทนสงครามฟอล์กแลนด์ ภาพเซอร์ไอแซก นิวตันแทนภูมิหลังแห่งการเป็นนักเคมีและแทนบ้านเกิดเมืองแกรนแทม
ภายหลังการดำรงตำแหน่ง[แก้]
นางแทตเชอร์ได้ลาออกจากตำแหน่งในเดือนพฤศจิกายน 2533 สืบเนื่องจากการต่อสู้ภายในพรรคและการถกเถียงโต้แย้งกับฝ่ายค้านในประเด็นที่แทตเชอร์ไม่ยอมเสียเอกราชในการเข้าเป็นสมาชิกเศรษฐกิจประชาคมยุโรป รวมทั้งการเสื่อมความนิยมจากการไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับนโยบายผู้มีสิทธิ์ออกเสียง (Poll Tax)

หลังจากได้รับบรรดาศักดิ์ชั้นบารอน แทตเชอร์ได้ตระเวนปาฐกถาไปทั่วโลกในนามของมูลนิธิแทตเชอร์ และได้ตีพิมพ์หนังสืออัตชีวประวัติชื่อ "มาร์กาเรต แทตเชอร์: ชีวิตในดาวนิงสตรีต" (Margaret Thatcher: the Downing Street Years) เมื่อปี พ.ศ. 2536

นางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ ถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบเมื่อเช้าวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556 ด้วยอาการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมอง ทำให้เส้นเลือดตีบ รวมอายุได้ 87 ปี

Credit: www.facebook.com/prpolway
แชร์บน Facebook แชร์
มีผู้เข้าชมแล้ว 4,017 ครั้ง
โพสท์โดย: AAnanajak , 9Y
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ "VOTE" และ "SHARE"
บารอเนส แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
 
Voted By: Lowell, AAnanajak
แชร์บน Facebook แชร์
หากคุณเป็นเจ้าของนิตยสาร/โมเดลลิ่ง เอเจนซี่ ต้องการโปรโมท สามารถส่ง e-mail แจ้งทีมงานให้ตั้งค่า username ของคุณเป็น Official User ได้ที่ info@postjung.com โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม
ดูต่อ
หน้าแรกเว็บบอร์ดหาเพื่อนChatหาเพื่อน Lineหาเพื่อน SkypePic PostตรวจหวยควิซคำนวณPageแชร์ลิ้ง
Postjung
เงื่อนไขการให้บริการ ติดต่อเว็บไซต์ แจ้งปัญหาการใช้งาน แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม ข่าวประชาสัมพันธ์ ลงโฆษณา
เว็บไซต์นี้ใช้ Cookie
เพื่อประสบการณ์ที่ดีและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติม อ่านนโยบายการใช้งาน
ตกลง