THERAPISEK CEREMONY | THAILAND 🇹🇭
โพสท์โดย อ้ายเติ่ง“ฮดสรง-เถราภิเษก” คือพิธีสรงน้ำหรือรินน้ำแก่พระสงฆ์ ซึ่งเป็นรูปแบบประเพณีที่เก่าแก่ของผู้คนในแถบอีสาน โดยได้รับอิทธิพลมาจากอาณาจักรล้านช้าง การจัดพิธีฮดสรงนั้นจะถูกจัดขึ้นเมื่อชาวบ้านและพระเถระในคณะสงฆ์เห็นว่า มีพระสงฆ์ที่เล่าเรียนจบในบั้นหรือขั้นต่างๆ แล้ว จึงสมควรที่จะจัดพิธีฮดสรงให้.
The Theraphisek ceremony in the Lan Xang Kingdom, and Northeastern Thailand.
The Tharapisek ceremony of Lan Xang was influenced by Lanna, because Lanna and Lan Xang have a historical connection each other and the kings descended together. Lan Xang called the Therapisek that Hod Song, a recitation ceremony to the monks that the villagers deem to have good behavior and practice through a watering ceremony. According to the beliefs of Lan Xang, Hod Song ceremony have been in the northeast since Dvaravati Kingdom where is evidence in many provinces of the Northeast, Thailand.
---🔸---
ฮดสรง เถราภิเษก
ของแปลก (😏สำหรับคนไม่รู้) แต่ไม่ใช่เรื่องพิสดารในถิ่นอีสาน ✨
©️ Photo Credit: Worawit Jongjaidee
©️ หมวกกาบปักไหมทอง, แล่งทอง ผลงานการออกแบบของร้าน #ปุรตางค์สังฆภัณฑ์ เป็นการผสมผสานระหว่างหมวกปักของพระสันตปาปาทางคริสต์ และหมวกกาบ ๙ ยอด แบบบ้านขวาว อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด
====
💠"เถราภิเษก สวมหมวกกาบ ถือหลาบคำ" พิธีกรรมนี้ปรากฏมีมาในอีสานและ สปป.ลาว หลายร้อยปีแล้ว ก่อนที่จะเกินข้อบัญญัติ หรือ กฏหมายสงฆ์ ที่มาจากมหาเถระสมาคมในยุคหลัง
ซึ่งพิธีกรรมพื้นบ้านนี้ก็ไม่ถือว่าผิด (จัดเป็นอาบัติขั้นเล็กน้อยตามพระวินัยแบบเถรวาท)
🏆พิธีเถราภิเษก หรือ “ฮดสรง” คือพิธีสรงน้ำหรือรินน้ำแก่พระสงฆ์ผ่านรางน้ำไม้แกะสลักรูปพญานาค อันเป็นรูปแบบประเพณีที่เก่าแก่ของผู้คนในแถบอีสาน (บางครั้งก็จัดพิธีร่วมกับวันปีใหม่ สงกรานต์ก็ได้) โดยได้รับอิทธิพลมาจากอาณาจักรล้านช้าง ผสานกับความเชื่อในแบบมหายานที่ปะปนกันเรื่อยมา กลายเป็นวัฒนธรรมปลีกย่อยแบบหนึ่งที่ปรากฏได้ในอีสาน, สปป.ลาว, รวมถึงภาคเหนือ ในวัฒนธรรมล้านนา และชาวไทใหญ่บางส่วนยังคงจัดสืบทอดต่อๆ กันมา
🔸 การจัดพิธีฮดสรงนั้นจะถูกจัดขึ้นเมื่อชาวบ้านและพระเถระในคณะสงฆ์เห็นว่า มีพระสงฆ์ที่เล่าเรียนจบในบั้นหรือขั้นต่างๆ แล้ว จึงสมควรที่จะจัดพิธีฮดสรงให้มีบริขารเครื่องยศประกอบสมณศักดิ์สำหรับมอบถวายแก่พระสงฆ์ที่ได้รับการฮดสรงด้วย โดยทั่วไปจะประกอบด้วย
1. อัฐบริขาร (จีวร ผ้าสังฆาฏิ สบง สายประคด มีดโกน กล่องเข็ม ธรรมกรก มีดตัดเล็บ)
2. ผ้าห่ม
3. รองเท้า
4. ไม้เท้า
5. หมวก
6. เตียงนอน
7. ตาลปัตรรูปใบโพธิ์ (ใช้เส้นไหมปัก)
8. หลาบเงิน หรือหลาบคำ (คือแผ่นเงินหรือแผ่นทองที่จารึกพุทธพจน์หรือพุทธภาษิต)
📌ขั้นหรือลำดับของพระที่ชาวบ้านยกย่องในพระวินัย หรือ พรรษา โดยไม่เกี่ยวข้องกับขั้นของการบรรลุธรรม อันเกิดจากการยอมรับนับถือกันในชุมชนเอง แต่ละขั้นก็หมายถึงความรู้ ความสามารถในทางการเล่าเรียนพระธรรม
ได้แก่
1. สำเร็จ คือภิกษุหรือสามเณรที่ผ่านการฮดสรง ครั้งที่ ๑
2. ซา คือภิกษุหรือสามเณรที่ผ่านการฮดสรงครั้งที่ ๒ (เชื่อกันว่า ซา หมายถึง ปรีชา หรือสามารถ)
3. คู (ครู) คือภิกษุหรือสามเณรที่ผ่านการฮดสรง ครั้งที่ ๓
4. คูหลักคำ คือภิกษุหรือสามเณรที่ผ่านการฮดสรงครั้งที่ ๔
5. คูลูกแก้ว คือภิกษุหรือสามเณรที่ผ่านการฮดสรงครั้งที่ ๕
6. คูยอดแก้ว คือภิกษุหรือสามเณรที่ผ่านการฮดสรงครั้งที่ ๖
🔸 ส่วนสมณศักดิ์ชั้นสูงสุดคือ “ราชครูหลวง” เป็นตำแหน่งที่กษัตริย์ของอาณาจักรล้านช้างในอดีตจะเป็นผู้สถาปนาด้วยพระองค์เอง
เทียบได้กับสมเด็จพระสังฆราช เพียงแต่ปัจจุบันจะไม่ได้ถึงขั้นนี้แล้ว ตามยุคสมัยและการเมืองที่เปลี่ยนไป.