หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
หน้ารวม Pic Post Pic Post ของฉัน สุดยอด Pic Post สุดยอดนักโพสท์คลังรูปค้นหา Pic Post Post รูป
ดูรายการโปรด เพิ่มเป็นรายการโปรด

Golden Boy or Jayavarman VI Statue | THAILAND 🇹🇭

โพสท์โดย อ้ายเติ่ง

ประติมากรรมรูปบุรุษสำริด พระเจ้าชัยวรมันที่๖: Golden Boy or Jayavarman VI, a bronze sculpture in a museum in the United States.

It was discovered in Ban Yang village in Buriram province, and sold to foreigners 50 years ago. Now the Fine Arts Thai Department is asking to come to Thailand.

 

เปิดหลักฐานทวงคืนสมบัติชาติจากสหรัฐฯ
ชาวบ้านขุดภูเขาหาสมบัติ ส่งขายตามใบสั่งนายทุนต่างชาติ ไทยจ่อทวง "Golden Boy”พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 มูลค่านับร้อยล้าน กลับสู่มาตุภูมิ

เรื่องนี้ของเท้าความไปเมื่อสัก ๔ ปีก่อนที่ละครเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” กำลังโด่งดังและได้รับความนิยม มีคนกัมพูชาจำนวนหนึ่งกล่าวหาว่า ในละครเรื่องนี้ไทยไปลอกศิลปวัฒนธรรมของกัมพูชา หนึ่งในนั้นที่พวกเขากล่าวถึงคือ ฉากในละครตอนที่มีการแต่งงานของ “แม่หญิงการะเกด” ที่มีการสวด “รัดเกล้า” ที่ศีรษะของแม่หญิง พวกเขาบอกว่ารัดเกล้านี้ คือ ศิลปะของเขมร (ลิงก์ https://bit.ly/3bPlw9b) พวกเขาเอารูปรูปปั้นต่าง ๆ มาเป็นหลักฐาน หนึ่งในหลักฐานที่คนกัมพูชากล่าวอ้าง คือ “ประติมากรรมพระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ (Golden Boy)” จากพิพิธภัณฑ์ The Metropolitan ในสหรัฐอเมริกา

ปรากฏว่า ๔ ปีต่อมาฝั่งไทยกำลังรวบรวมหลักฐานเพื่อทวงคืน “ประติมากรรมพระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ (Golden Boy)” จากสหรัฐอเมริกา โดยที่ฝั่งไทยมีหลักฐานชี้ชัดว่า ประติมากรรมรูปฉลองพระองค์พระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ ผู้สร้างปราสาทหินพิมาย คือ ผ้านุ่งที่เป็นครีบยาวลงมา เป็นประติมากรรมรูปคนไม่ใช่เทพเจ้า ชี้ชัดว่าศิลปะแบบพิมาย ไม่พบในกัมพูชาแต่อย่างใด

พระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ เป็นปฐมกษัตริย์สายราชสกุลมหิธรปุระ เป็นชาวพิมายในที่ราบสูงโคราช ซึ่งปัจจุบันคืออำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา พระองค์นับถือศาสนาพุทธ หลังจากที่พระเจ้าหรรษวรรมันที่ ๓ กษัตริย์ แห่งเมืองนครธม สวรรคต ทำให้เกิดความวุ่นวาย ตอนนั้นมีกษัตริย์ ๓ องค์ขึ้นครองราชย์พร้อมกัน และต่างฝ่ายต่างขัดแย้งกัน พระองค์ได้ลงไปจัดการกบฏที่สร้างความวุ่นวายมานานหลายปี

พระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ จึงลงไปปราบกบฏและปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งเมืองนครธม พระองค์ใหม่ รวมถึงสถาปนาราชวงศ์ใหม่ คือ “มหิธรปุระ” อันมีต้นกำเนิดจากที่ราบสูงโคราช

เชื้อสายของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ อยู่ปกครองเมืองนครธมมาอีก ๒๕๐ ปี รวม ๑๑ รัชกาล จนถึงสมัยของพระชัยวรมันที่ ๙ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้ง คือ “นายแตงหวาน” หรือ “ตระซอกปะแอม” ได้ทำการโค่นล้มราชวงศ์วรมัน และสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นกษัตริย์เขมร ทำให้ไม่มีสร้อยพระนามลงท้ายพระนามกษัตริย์ด้วย “วรมัน” มาจนถึงปัจจุบัน

มาถึงเรื่องการทวงคืนบ้าง ซึ่งในปีที่ผ่านมาไทยสามารถทวงคืนสมบัติชาติ ชิ้นสำคัญจากสหรัฐฯกลับสู่มาตุภูมิได้ ๒ ชิ้น หากจำกันได้ คือทับหลังหนองหงส์ จ.บุรีรัมย์ และทับหลังเขาโล้น จ.สระแก้ว โดยที่รัฐบาลไม่ต้องจ่ายเงินค่าทนาย เพื่อฟ้องร้องทวงคืนแม้แต่บาทเดียว

แต่ก็ยังมีโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ ที่ต้องออกแรงทวงคืนอีกครั้งนั้นก็คือ “Golden Boy” ประติมากรรมสำริด พระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ มูลค่านับร้อยล้านบาท ถูกจัดแสดง ไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งในสหรัฐฯ

เป็นประติมากรรมสำริดปิดทองเกือบทั้งองค์ ผิวเรียบ งดงาม ทำให้นักสะสมถึงต้องการครอบครอง พระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ หรือ “Golden Boy” เมื่อ ๕๐ ปีที่ผ่านมามีการซื้อ-ขายพุ่งสูงถึง ๑ ล้านบาท และเพราะยังมีฐานหินทรายที่ตั้ง หลักฐานชิ้นสำคัญเหลืออยู่ในบ้านยาง ต.ตาจง อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์

ก่อนการทวงคืนจะเกิดขึ้น อาจารย์ทนงศักดิ์ หาญวงษ์ นักโบราณคดีกลุ่มสำนึก ๓๐๐ องค์ เล่าว่า Angela Chui นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ ในลอนดอน ส่งข้อมูลประติมากรรมสำริดขนาดใหญ่ จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ The Metropolitan เพราะความสวยงามโดดเด่นของประติมากรรมทำให้ได้ฉายา “Golden Boy”

ขณะที่ ในหนังสือ Khmer Gold เขียนโดย Emma C.Bunker กับ Douglas Latchford อดีตพ่อค้าโบราณวัตถุสัญชาติไทย ที่พึ่งเสียชีวิตเมื่อปีที่ผ่านมา ในหนังสือยังระบุพิกัดพบที่บ้านยางอำเภอละหานอีกด้วย

“Golden Boy” มีความสูง ๑๑๐ เซนติเมตร ที่สันนิษฐานว่าประติมากรรมรูปฉลองพระองค์พระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ ผู้สร้างปราสาทหินพิมาย คือ ผ้านุ่งที่เป็นครีบยาวลงมา ชี้ชัดว่าศิลปะแบบพิมาย ไม่พบในกัมพูชา และเป็นประติมากรรมรูปคนไม่ใช่เทพเจ้า สอดคล้องกับข้อมูล พระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ นับถือศาสนาพุทธ

ทีมข่าวไทยพีบีเอส ได้เดินทางมาพิสูจน์ความจริงครั้งนี้ ได้เจอกับครอบครัว “เป็ดสกุล” ผู้ที่ได้สัมผัส “Golden Boy” เมื่อ ๕๐ ปีที่ผ่านมา ยังจดจำรายละเอียด และตำหนิ ได้อย่างแม่นยำ

ยายนิล (ชาวบ้าน) วัย ๖๗ ปี เล่าว่า พี่เขยขุดเจอเทวรูปจริง จากนั้นช่วยกันยกมาไว้บ้าน และเป็นคนไปตักน้ำในบ่อมาล้างดินออก แต่ชาวบ้านไม่รู้ว่าปลายทาง จะถูกส่งออกไปยังสหรัฐฯ และชาวบ้านบริเวณนั้นยังให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทวงคืนระบุว่าเมื่อปี ๒๕๕๘ มีชาวต่างชาติ เดินทางมาที่บ้านยาง เพื่อตามหาแหล่งกำเนิด Golden Boy

นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร ระบุว่า หลักฐานการทวงคืนยังขาดความสมบูรณ์ ได้มอบหมายให้ คณะกรรมการติดตามคืนโบราณวัตถุฯ ทำข้อมูลเพิ่มก่อน ก่อนรีบเร่งทวงคืน เพราะไม่อยากให้กระทบกับความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ

ดังนั้นหน้าที่ต่อไปของ ทนงศักดิ์ คือเร่งทำรายละเอียด พร้อมหลักฐาน เสนอคณะกรรมการติดตามคืนโบราณวัตถุฯ เพื่อนำสมบัติชาติ กลับคืนสู่อ้อมกอดชาวบ้านยางอีกครั้ง เพราะหากพิสูจน์ได้ว่าเป็นการลักลอบค้าโบราณวัตถุอย่างผิดกฎหมาย “Golden Boy อาจจะเป็นสมบัติชาติอีกชิ้น ที่ได้กลับคืนมาเหมือนทับหลังหนองหงส์ จ.บุรีรัมย์ และทับหลังเขาโล้น จ.สระแก้ว

รับชมคลิปจากไทยพีบีเอสได้ที่ 

บรรณานุกรม
(๑) ไทยจ่อทวง "Golden Boy” พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 กลับมาตุภูมิ. https://news.thaipbs.or.th/content/317209. (๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕)
(๒) เพจ ASEAN “มอง”

Credit: https://www.facebook.com/boraan.th/photos/a.1721168658137287/3154587814795357
แชร์บน Facebook แชร์
Tags ที่เกี่ยวข้อง : Golden Boy, Jayavarman VI, Statue, Thailand, museum, United States of America
มีผู้เข้าชมแล้ว 3,320 ครั้ง
โพสท์โดย: อ้ายเติ่ง , 2Y
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ "VOTE" และ "SHARE"
Golden Boy or Jayavarman VI Statue | THAILAND 🇹🇭
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
 
Voted By: อ้ายเติ่ง
หากคุณเป็นเจ้าของนิตยสาร/โมเดลลิ่ง เอเจนซี่ ต้องการโปรโมท สามารถส่ง e-mail แจ้งทีมงานให้ตั้งค่า username ของคุณเป็น Official User ได้ที่ info@postjung.com โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม
Comment ด้วย facebook

Pic Post อื่นๆ ของ อ้ายเติ่ง

THAILAND 🇹🇭 | Sukhothai Kingdom - สมัยสุโขทัย THAI WEDDING DRESS ( The sbai in Thai dress) | THAILAND 🇹🇭 "Syam Kuk - ស្យាំកុក៍ ” Siam in Angkorian Period, 12th Century THAILAND 🇹🇭 | ชุดแต่งงานอีสาน ลานคำดีไซน์ดู Pic Post ทั้งหมดของ อ้ายเติ่ง