หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
หน้ารวม Pic Post Pic Post ของฉัน สุดยอด Pic Post สุดยอดนักโพสท์คลังรูปค้นหา Pic Post Post รูป
ดูรายการโปรด เพิ่มเป็นรายการโปรด

THAILAND 🇹🇭 | Lopburi Period dance

โพสท์โดย อ้ายเติ่ง

ระบำลพบุรี

📸 Credit: Ekkachai Tabsawat.

🌷 "Rabam Lopburi" is one of old tale folk dances. It appeared by copying the characteristics of an idol, the picture, the sculpture, the statue, the bronze statue, the stone carver, the rear guard gate the ancient places found in the Lopburi period.

ระบำลพบุรี เป็นระบำโบราณคดีเพลงหนึ่ง เกิดขึ้นโดยเลียนแบบลักษณะท่าทางของเทวรูป ภาพเขียน ภาพแกะสลัก รูปปั้น รูปหล่อโลหะและภาพศิลาจำหลัก-ทับหลังประตู ตามโบราณสถาน ที่ขุดพบในสมัยลพบุรี ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๙ ศิลปวัตถุโบราณประเภทนี้อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ปราสาทหินพิมาย ในจังหวัดนครราชสีมาพระปรางค์สามยอดลพบุรี แล้วนำมากำหนดยุดสมัยตามความเก่าแก่ของโบราณสถานและโบราณวัตถุ แล้วมาสร้างเป็นระบำสมัยนั้นขึ้น ลีลาท่าทางของศิลปวัตถุเป็นภาพนิ่ง(ท่าตาย) เหมาะเป็นท่าเทวรูปมากกว่า เมื่ออาศัยหลักทางด้านนาฎศิลป์เข้ามาดัดแปลงเป็นท่ารำ ทำให้มีความอ่อนช้อย สวยงาม ผู้ประดิษฐ์ท่ารำ คือ ครูลมุล ยมะคุปต์ ร่วมด้วยครูเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญนาฎศิลป์ไทย กรมศิลปากร


        ระบำ ลพบุรี เป็นระบำชุดที่ ๓ ในระบำโบราณคดีที่เกิดขึ้นจากแนวความคิดของนายธนิต อยู่โพธิ์ (อดีตอธิบดีกรมศิลปากร) เช่นเดียวกับระบำทวารวดี อยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๙ ประดิษฐ์ขึ้น โดยอาศัยหลักฐานจากโบราณวัตถุ และภาพจำหลักตามโบราณสถาน ซึ่งสร้างขึ้นตามแบบศิลปะของขอม ที่อยู่ในประเทศกัมพูชา และประเทศไทย อาทิ พระปรางค์สามยอดในจังหวัดลพบุรี ทับหลังประตูระเบียงตะวันตกของปราสาทหินพิมายในจังหวัดนครราชสีมา ปราสาทหินพนมรุ้งในจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น การแต่งทำนองเพลง กระบวนท่ารำ และเครื่องแต่งกาย จึงมีลักษณะคล้ายเขมรเป็นส่วนใหญ่ ระบำลพบุรีแสดงครั้งแรกเพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทอดพระเนตรในงานเสด็จพระราชดำเนินทางเปิดการแสดงศิลปะโบราณวัตถุในอาคาร สร้างใหม่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๐ และภายหลังได้นำออกแสดงในโรงละครแห่งชาติและที่อื่น ๆ เพื่อให้ประชาชนชม


        นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ เป็นผู้แต่งทำนองเพลง โดยมีสำเนียงออกไปทางเขมร


        นางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร และนางเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์) ปีพุทธศักราช ๒๕๓๐ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ

นายสนิท ดิษฐพันธ์ ออกแบบเครื่องแต่งกาย นางชนานันท์ ช่างเรียน สร้างเครื่องแต่งกาย นายชิต แก้วดวงใหญ่ สร้างศิราภรณ์ และเครื่องประดับ


เครื่องแต่งกาย


    - เสื้อ ใช้ผ้ายืดสีเนื้อ คอกลม แขนสั้นเหนือศอก ติดแถบสีทองโอบรอบคอตลอดหว่างอกและรอบเอว ตัวเอกปักดิ้นเป็นลายดอกประจำยามหนึ่งดอกตรงระหว่างอก


    - ผ้านุ่ง เย็บสำเร็จแบบซ้อนหน้า ชายล่างโค้งมน ยาวคลุมเข่า ปักดิ้นลาย ประจำยาม


    - ระปราย มีผ้าตาลสีทองทาบชายกระโปรง ตัวเอกนุ่งผ้าสีส้มแสด หมู่ระบำสีฟ้าอมม่วง


    - ผ้าคลุมสะโพก สีม่วงอ่อน ชายแหลมมนแยกเป็น ๒ ชิ้น หมู่ระบำริมผ้าทาบ ด้วยผ้าตาดสีทอง ตัวเอกทาบริมด้วยผ้าตาลสีเงิน


ตัวอย่างการแต่งกายระบำลพบุรี

 

เครื่องประดับ

ศีรษะของระบำชุดนี้ ประกอบด้วย


    - กระบังหน้า หมู่ระบำใช้กระบังหน้าประดับดอกไม้ไหว ตัวเอกกระบังหน้ารูปดอกดาวกระจาย ๖ ดอก


    - เกี้ยว


    - พู่ไหมแซมเงิน


    - ที่ครอบผม


    - รัดต้นแขน ประดับกระจกสีต่าง ๆ


    - สร้อยคอ ประดับด้วยแก้ว หรือพลอย


    - เข็มขัด


    - กำไลข้อมือ ประดับด้วยแก้วหรือพลอย


    - กำไลข้อเท้า ประดับกระจกต่าง ๆ

 


นาฏยศัพท์

    จีบมือ ( จีบมือแบบลพบุรี ) ได้รูปแบบมาจากลักษณะนิ้วของพระพุทธรูปในสมัยลพบุรี ซึ่งเมื่อนำมาผสมผสานกับลีลาทางนาฏศิลป จะมีลักษณะดังนี้ คือ ปลายนิ้วหัวแม่มือจรดเหนือข้อแรกของปลายนิ้วชี้ นิ้วที่เหลือเหยียดตึง

( จีบแบบปกติ ) นิ้วหัวแม่มือจรดข้อแรกของปลายนิ้วชี้ที่เหยียดตึง กรีดปลายนิ้วออกไปให้ได้ระยะ

ถองสะเอว แขนขวางศอก ให้ข้อศอกจรดเอว หักข้อมือ ตั้งวงกดไหล่ขวาศีรษะเอียงขวา มือซ้ายตั้งวงสูงระดับแง่ศีรษะ ถ้าถองสะเอวข้างซ้ายก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน เดี่ยวเท้า เดี่ยวเท้าขวา ยืนด้วยเท้าซ้าย ยกฝ่าเท้าขวาขึ้นแนบกึ่งกลางด้านข้างขวา พับซ้าย ถ้าจะเดี่ยวเท้าซ้ายก็ปฏิบัติเช่นเดี่ยวกัน

Credit: https://sites.google.com/site/ajanthus/raba-borankhdi/raba-lphburi
แชร์บน Facebook แชร์
 Credit: WorawitNu PhotoBook
Credit: WorawitNu PhotoBook
Tags ที่เกี่ยวข้อง : ระบำลพบุรี, ละโว้, ระบำโบราณคดี, รำไทย, นาฏศิลป์ไทย, นางรำ, Thailand, dress, costume, dance, national, traditional, clothes, culture, performance, ថៃអប្សរា
มีผู้เข้าชมแล้ว 1,371 ครั้ง
โพสท์โดย: อ้ายเติ่ง , 1Y
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ "VOTE" และ "SHARE"
THAILAND 🇹🇭 | Lopburi Period dance
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
 
Voted By: อ้ายเติ่ง
หากคุณเป็นเจ้าของนิตยสาร/โมเดลลิ่ง เอเจนซี่ ต้องการโปรโมท สามารถส่ง e-mail แจ้งทีมงานให้ตั้งค่า username ของคุณเป็น Official User ได้ที่ info@postjung.com โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม
Comment ด้วย facebook

Pic Post อื่นๆ ของ อ้ายเติ่ง

THAI GUY IN TRADITIONAL OUTFIT, and LOY KRATHONG FESTIVAL | THAILAND 🇹🇭 Thai Dress: ชุดไทย ผ้าลายอย่าง | Thailand The Similarities of Ancient Symbols in Asia!🧡 ศรีธรรมาทวารวดี: Dvaravati Era | THAILAND 🇹🇭ดู Pic Post ทั้งหมดของ อ้ายเติ่ง