🇹🇭 THAILAND | Dvaravati Era, สมัยทวารวดี
โพสท์โดย🔴 ชุดสมัยทวาราวดี
🔸 Makeup artist: นายปัง ลิงน้อย แต่งหน้าทำผม
🔸 Model: น้องแบม
🔸 Stylist: พี่ตูน, พี่งอแง
🔸 Costume: นพเก้านาฏศิลป์
🔸 Photogrpher: พี่โหน่ง
—————•♦•—————
📌 The Dvaravati period lasted from around the 6th to the 11th century in what is now Thailand.
Dvaravati refers to a culture, an art style, and a disparate conglomeration of principalities.
Dvaravati itself was heavily influenced by Indian culture and played an important role in introducing Buddhism and particularly Buddhist art to the region.
"Buddhism was important during the Dvaravati period. Stories carved on the sema stones are mostly stories from Jataka tales and the Lord Buddha's life. The Northeast has many ancient sites related to Buddhism.
.
🇹🇭 Is Dvaravati (Dhavaravati) really in Thai territory?
Found inscriptions on silver coins that mention "Sri Dvaravati Swarapunya" which means "Merit of the King of Sri Dvaravati" (inscription in Sanskrit age around the 13th Buddhist century), which indicates that Dvaravati (Dhavaravati) is a real in Thailand and there are also inscriptions on the Buddha statues at Wat Chanthuk, Pak Chong, Nakhon Ratchasima, and many others. As for the evidence found outside the country, such as the evidence of the record of the Chinese monk Jin Hong The record of the land in the southeast of India. But the name Dvaravati is pronounced in a Chinese accent as "To Lo Po Ti", which in Sanskrit means "Dvaravati" (Dhavaravati), which corresponds to finding silver coins in Thailand. Therefore, Dvaravati (Dhavaravati) is definitely in Thailand.
.
🇹🇭 How did the Dvaravati (Dhavaravati) Kingdom disappear?
It is assumed that the factors that made the country prosperous in the past (prosperity considering the evidence of antiquities and artifacts that have been found) were abandoned or gradually people reduce that number. There could be a number of reasons, such as an outbreak of an epidemic or a move to a more prosperous location. But if talking about the broad picture, such as the disappearance of Dvaravati culture, such as the creation of Dvaravati style Buddhism, the disappearance of the Dvaravati font, and others, the part must be admitted to disappear with other cultures inserted. Which has a high probability that the culture was Khmer in the reign of King Suriyavarman I, during the 16th Buddhist century. Which is the period after the Buddhist century of the Dvaravati period. In some parts of the central region of Thailand, there are some Khmer cultures inserted, such as the construction of a castle and the inscription of King Suryavarman. which assumes that King Suryavarman I began to have power over Lop Buri Because in the middle of the 16th Buddhist century, which is when Dvaravati gradually disappeared from Lopburi And the most obvious is the reign of King Jayavarman VII.
.
🇹🇭 How did the Dvaravati (Dhavaravati) Kingdom disappear?
If Dvaravati (Dhavaravati) is 400 years old (this age means the beginning of the kingdom and the end of the kingdom), why is there only one king? Part of the name of the king may be found in non-permanent evidence, such as scriptures made from palm leaves or paper. Thus resulting in a lack of evidence, one of the problems of Dvaravati is the deterioration of the object. A thousand years old, it must naturally deteriorate. People at that time might have thought that what they had built was already strong. Didn't think it would have to last 1,000 years, it was just one lifetime of him. Like building a house, you wouldn't think that our house would have to live for a thousand years only in our lifetime
.
🇹🇭 “What is Dvaravati?” Part of it is the foundation of Thailand and many cultures have been inherited from Ayutthaya, such as the name of a Thai design pattern, etc., which has had its roots since the Dvaravati period. At that time it was assumed that it might have been brought from India again or the adoption of the doctrine Buddhist culture that uses the Pali language or the name of Ayutthaya "Bangkok bowon, Dvaravati Sri Ayutthaya" may be the name of the original city added as well. Therefore, Dvaravati, despite being a thousand years old, is an undeniable part of the foundation of Thai culture (people in the Dvaravati era which many people today may be seen as Mon people).
—————•♦•—————
🔅🔆โตโลโปตี้ - ทวารวดี🔆🔅
✦ อาณาจักรทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 12 ลงมาถึงพุทธศตวรรษที่ 16 มีอ้างอยู่ในบันทึกของภิกษุจีนจิ้นฮง กล่าวว่า โตโลโปตี เป็นชื่อของอาณาจักรหนึ่งตั้งอยู่ระหว่างอาณาจักรศรีเกษตร และอาณาจักรอิศานปุระอาณาจักรนี้เดิมตั้งอยู่ในดินแดนประเทศไทย (สยาม)ปัจจุบัน ทวารวดีจึงกลายเป็นอาณาจักรแรกในดินแดนไทยยังเชื่อกันอีกด้วยว่าเมืองนครปฐมโบราณน่าจะเป็นศูนย์กลางหรือเมืองหลวงของอาณาจักร แต่ขณะเดียวกันนักวิชาการบางท่านก็เชื่อว่าเป็นอำเภออู่ทอง หรืออาจเป็นจังหวัดลพบุรี ที่น่าจะเป็นเมืองหลวงมากกว่า.
🔸 การแต่งกายสมัยทวารวดี 🔸
ชาวทวารวดีได้ีรับอิทธิพลจากอินเดียแบบสมัยคุปตะทำให้เครื่องแต่งกายออกมาเป็นแบบอิทธิพลของอินเดีย
โดยใช้เครื่องประดับที่เป็นลูกปัดแก้ว หินอาเกต มีสีสันต่างๆสวยงาม และเป็นสินค้าสำคัญในยุคนั้น
✦ การแต่งกายของผู้ชาย จากหลักฐานที่ชาวจีนสมัยโบราณบันทึกไว้ถึงชาวทวารวดีกล่าวว่า พระมหากษัตริย์ออกว่าราชการจะทรงอาภรณ์สีเมฆ ยามเช้าจะทรงศิราภรณ์ทองคำ เครื่องใช้ก็เป็นทองคำล้วน ผ้าทรงลายลูกไม้คล้องคอ ต่างหูทองคำ ศิราภรณ์เป็นทองคำประดับมุกและอัญมณีต่างๆ นุ่งผ้าคล้ายชาวอินเดีย คือนุ่งโจงกระเบนยาวเลยเข่าไป มีเครื่องประดับที่คอและเครื่องแขนที่ประดับมุกและอัญมณี คาดเข็มขัด เกล้าผมเป็นมวยสูงๆ
✦ การแต่งกายของผู้หญิง นิยมใช้ผ้าคล้องคอ ไหล่ แต่จะพาดไปทางไหนไม่มีกำหนดกฎเกณฑ์อะไรตายตัว บางคนก็นำมาคาดไว้ที่อกแบบผ้าแถบ นุ่งผ้ายาวกรอมเท้า พับเป็นทบเล็กน้อย มีชายพกด้านหน้า เกล้าผมสูง ต่างหูแบนๆกลมๆทำจากโลหะหรือทองคำดุนเป็นลวดลายต่างๆ หรือบางครั้งทำเป็นรูปอื่นๆ เช่นหยดน้ำ ดอกไม้ ดอกบัวตูม เป็นต้น
—————•♦•—————
🔸 อาณาจักรทวารวดี 🔸 เป็นอาณาจักรโบราณในประเทศไทย หรือกลุ่มวัฒนธรรมกลุ่มหนึ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยก่อนสมัยสุโขทัย (ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างอาณาจักรศรีเกษตรของพม่าและอาณาจักรอิศานปุระของเขมร) มีความหมายว่า “เป็นป่าประตูทางการค้า” และเป็นชื่อเมืองของพระกฤษณะ ในเรื่องมหาภารตะของอินเดีย ซึ่งสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖ และเชื่อว่ามีศูนย์กลางอยู่ ๓ แห่ง คือ เมืองโบรารณนครปฐม เมืองโบราณอู่ทองและเมืองโบราณศรีเทพ ตลอดจนลพบุรี สิงห์บุรีและนครราชสีมา โดยเฉพาะที่เมืองโบราณนครปฐม เพราะในเชิงความกว้างใหญ่ของเมือง ขนาดของโบราณสถาน ความหนาแน่นของโบราณวัตถุที่พบในนครปฐมมีมากกว่า จึงสันนิษฐานว่าเป็นเมืองศูนย์กลาง
.
🔸สันนิษฐานว่าทวารวดีรับเอาวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ามาประสมประสาน ส่วนหนึ่ง คือ รับเอาตัวอักษรเข้ามาใช้ด้วย รวมถึงวัฒนธรรมและอารยธรรมในมิติอื่นๆ เช่น ระบบการปกครอง สถาบันพระมหากษัตริย์ เรื่องของพิธีกรรมต่างๆ และที่ปฏิเสธไม่ได้ คือ ศาสนาพุทธ และดูเหมือนคนทวารวดีจะยอมรับและนับถือศาสนาพุทธในปริมาณที่มากกว่า เมื่อเทียบกับศาสนาพราหมณ์ นอกจากนี้โบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่พบ มีความคล้ายคลึงกับรูปแบบกับศิลปอินเดีย ต่อเนื่องตั้งแต่คุปตะและหลังคุปตะ ต่อเนื่องด้วยปาละ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพุทธศาสนาของทวารวดีน่าจะรับมาจากอินเดีย
.
🔸ก่อนสมัยทวารวดี (หรือคาบเกี่ยวกับสมัยทราวดี) เพราะทวารวดีบางเมืองพบตุ๊กตาดินเผา ซึ่งบางคนอาจมองว่าเป็นของเล่น ส่วนหนึ่งก็มองว่ามันคล้ายกับ “ตุ๊กตาเสียกบาล” ถ้าข้อสันนิษฐานนี้เป็นจริง คือ เป็นการอุทิศตุ๊กตานี้ให้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์บางอย่างที่จะมาทำร้าย หรือทำให้เราเจ็บไข้ได้ป่วยหรือตาย ยังมีข้อน่าสังเกตุว่ามีตุ๊กตาจูงลิง โดยใช้แม่พิมพ์ (แต่ไม่ค่อยมีคนพูดกัน) ใช้แม่พิมพ์ประกบ ซึ่งถ้าตุ๊กตานี้เป็นตุ๊กตาเสียกบาลที่เหมือนในปัจจุบัน แสดงว่าในอดีตน่าจะมีเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดการทำตุ๊กตาเสียกบาลจำนวนมาก ถึงขนาดที่ต้องใช้แม่พิมพ์ หรือสันนิษฐานได้ว่าในอดีตอาจเกิดโรคระบาดหรือที่เรียกกันว่า “โรคห่า” จึงทำให้คนต้องมาร่วมกันทำพิธีปั้นตุ๊กตาเสียกบาล
.
🔸ทวารวดีอยู่ในดินแดนไทยจริงหรือ?
จากการพบจารึกบนเหรียญเงินที่พูดถึง “ศรีทวาราวดี ศวรปุณยะ” แปลว่า “บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดี” (จารึกภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓) ซึ่งแสดงว่าทวารวดีนั้นมีอยู่จริงในไทยและยังมีจารึกบนฐานพุทธรูปที่วัดจันทึก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา และอื่นๆ อีกมากมาย ส่วนหลักฐานที่พบนอกประเทศ เช่น หลักฐานการบันทึกของพระภิกษุจีนจิ้นฮงที่บันทึกชื่อดินแดนที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงมาทางใต้ของอินเดียว่ามีชื่อประเทศอะไรและดินแดนอะไรบ้าง แต่ออกเสียงเป็นสำเนียงจีน ซึ่งปรากฏชื่อบ้านเมืองที่เขาเรียก “โถ-โล-โป-ตี” ซึ่งในภาษาสันสกฤต แปลว่า “ทวารวดี” ซึ่งสอดคล้องกับการเจอเหรียญเงินในประเทศไทย ฉะนั้นทวารวดีอยู่ในเมืองไทยแน่นอน
.
🔸อาณาจักรทวารวดีหายไปไหน?
สันนิษฐานว่าเหตุปัจจัยที่ทำให้บ้านเมืองที่เจริญรุ่งเรืองในอดีต ถูกทิ้งร้างหรือผู้คนค่อยๆ ลดจำนวนลงนั้น อาจมีหลายเหตุผล เช่น เกิดโรคระบาดหรือย้ายไปหาแหล่งที่อุดมสมบูรณ์กว่าเดิม แต่ถ้าพูดถึงภาพกว้าง เช่น การหายไปของวัฒนธรรมทวารวดี เช่น การสร้างพุทธรูปแบบทวารวดี การสร้างธรรมจักรหรือการใช้ตัวอักษรแบบทวารวดีหายไป ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าหายไปพร้อมกับมีวัฒนธรรมอื่นเข้ามาแทรก ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงว่าวัฒนธรรมนั้นมาจากเขมร ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ก็คือช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ซึ่งเป็นช่วงหลังพุทธศตวรรษของสมัยทวารวดี โดยพื้นที่ภาคกลางของไทยบางส่วนนั้นมีวัฒนธรรมเขมรเข้ามาแทรกอยู่บ้าง เช่น มีการสร้างปราสาทและจารึกของพระเจ้าสุริยวรมัน ซึ่งสันนิฐานว่าพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ เริ่มมีอำนาจเหนือลพบุรี เพราะกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๖ คือ ช่วงที่ทวารวดีค่อยๆ หายไปจากลพบุรี และเด่นชัดที่สุด คือ สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗
.
🔸ถ้าทวารวดีมีอายุร่วม ๔๐๐ ปี (อายุนี้หมายถึงช่วงเริ่มอาณาจักรและสิ้นสุดอาณาจักร) ทำไมถึงมีกษัตริย์องค์เดียวที่เอ่ยถึง?........ส่วนหนึ่งชื่อกษัตริย์อาจไปอยู่ในหลักฐานที่ไม่ได้ถาวร เช่น พวกคัมภีร์ที่ทำจากใบลานหรือกระดาษ เลยทำให้ขาดหลักฐาน ปัญหาหนึ่งของทวารวดี คือ การเสื่อมสภาพของตัววัตถุ อายุพันปีมันต้องเสื่อมสภาพเป็นธรรมดา คนสมัยนั้นอาจมองว่าสิ่งที่สร้างมันแข็งแรงแล้ว ไม่คิดว่าจะต้องอยู่เป็น ๑,๐๐๐ ปี ก็แค่ชั่วชีวิตหนึ่งของเขาเท่านั้น เหมือนการสร้างบ้านคงไม่คิดว่าบ้านเราจะต้องอยู่ถึงพันปี แค่ในชั่วชีวิตเราเท่านั้น
.
🔸“ทวารวดีคืออะไร” อย่างน้อยมัน คือ รากฐานของประเทศไทย และวัฒนธรรมหลายอย่างได้สืบทอดมาถึงอยุธยา เช่น ลายประจำยาม ลายประจำยามก้ามปู ซึ่งเป็นรากฐานมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ซึ่งช่วงนั้นสันนิษฐานว่าอาจจะรับมาจากอินเดียอีกทอดหนึ่ง หรือการรับเอาวัฒนธรรมการนับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาทที่ใช้ภาษาบาลี หรือสร้อยนามของอยุธยา “กรุงเทพมหานครบวรทวารวดีศรีอยุธยา” อาจเป็นชื่อบ้านเมืองเดิมต่อเติมมาด้วย ดังนั้นทวารวดีแม้จะอายุเป็นพันปีก็เป็นส่วนหนึ่งของรากฐานวัฒนธรรมไทยที่ปฏิเสธไม่ได้ (คนในยุคทวารวดี ซึ่งหลายคนในปัจจุบันอาจจะมองว่าเป็นคนมอญ)