หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
หน้ารวม Pic Post Pic Post ของฉัน สุดยอด Pic Post สุดยอดนักโพสท์คลังรูปค้นหา Pic PostPost รูป
ดูรายการโปรด เพิ่มเป็นรายการโปรด

THAILAND 🇹🇭 | Daily colors in Thai people's beliefs ✨

โพสท์โดย อ้ายเติ่ง

"ความเชื่อการแต่งกายตามสีประจำวัน" มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สีถูกกำหนดจากสีประจำตัวเทพยดาพระเคราะห์ประจำวันตามความเชื่อ หลักฐานความเชื่อนี้ปรากฎใน #สวัสดิรักษาคำกลอน ของสุนทรภู่ และสีของผ้าที่นำมานุ่งห่มอาจสลับระหว่างสไบกับผ้านุ่งก็ได้หรือเน้นอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยมักจะนุ่งห่มสไบตัดกับโจงกระเบนคนละสี นิยมแต่งกันเฉพาะชาววังหรือชนชั้นสูง แต่ต่อมาชาวบ้านก็นุ่งห่มตามในภายหลัง เดิมทีการแต่งกายนี้มีอยู่ในคำฉันท์ภาษาบาลีชื่อ #สวัสดิรักษาคำฉันท์ แต่คนส่วนมากไม่เข้าใจเพราะมีเนื้อหาที่เข้าถึงได้ยาก สุนทรภู่จึงได้ประพันธ์ “สวัสดิรักษาคำกลอน” ขึ้นเพื่อให้เข้าใจได้โดยง่ายและเผยแพร่สู่ทุกชนชั้น (ปี ๒๓๖๔-๒๓๖๗) เนื้อความคำกลอนมีอยู่ว่า…

อนึ่งภูษาผ้าทรงณรงค์รบ ให้มีครบเครื่องเสร็จทั้งเจ็ดสี
วันอาทิตย์สิทธิโชคโฉลกดี เอาเครื่องสีแดงทรงเป็นมงคล
เครื่องวันจันทร์นั้นควรสีนวลขาว จะยืนยาวชันษาสถาผล
อังคารม่วงช่วงงามสีครามปน เป็นมงคลขัตติยาเข้าราวี
เครื่องวันพุธสุดสีด้วยสีแสด กับเหลือบแปดปนประดับสลับสี
วันพฤหัสจัดเครื่องเขียวเหลืองดี วันศุกร์สีเมฆหมอกออกสงคราม
วันเสาร์ทรงดำจึงล้ำเลิศ แสนประเสริฐเสี้ยนศึกจะนึกขาม
หนึ่งพาชีขี่ขับประดับงาม ให้ต้องตามสีสรรพ์จึงกันภัย ฯ
.
#ในสมัยอยุธยา คนไทยมีความเชื่อเรื่องการนุ่งห่มด้วยสีที่เป็นมงคล ซึ่งก็คือสีประจำวันทั้งเจ็ดวันนั่นเอง
(๑.) วันอาทิตย์สวมเสื้อผ้าสีแดง (๒.) วันจันทร์สวมสีขาวนวล (๓.) วันอังคารสวมสีชมพู (๔.) วันพุธสวมสีเขียว (๕.) วันพฤหัสบดีสวมสีเหลืองอ่อน (๖.) วันศุกร์สวมสีฟ้าอ่อน (๗.) วันเสาร์สวมสีดำ
การซื้อขายผ้าในกรุงศรีอยุธยาเป็นที่นิยมจนกรุงศรีอยุธยาเป็นแหล่งค้าผ้าที่สำคัญของพ่อค้า นอกจากผ้าที่ทอขึ้นเองแล้วยังมีผ้าที่สั่งเข้ามาจากจีน อินเดียและทางฝั่งยุโรป เช่น อังกฤษและฮอลันดา เป็นต้น นอกจากจะซื้อมาทำเครื่องนุ่งห่มแล้วยังนิยมเอามาตกแต่งเครื่องเรือนหรือของใช้อื่นๆ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาลักษณะของผ้ายังแสดงถึงฐานะของผู้สวมใส่ หากขุนนางได้รับปูนบำเหน็จความดีความชอบก็จะได้รับพระราชทาน “ผ้าสมปัก” เอาไว้สวมใส่เมื่อเข้าเฝ้า ผ้าสมปักมีหลายชนิด ผ้าสมปัก คือ ผ้าที่ทอด้วยไหม เพราะกลางผืนผ้ามีสีและลวดลายต่างๆ มีขนาดกว้างยาวกว่าผ้านุ่งธรรมดา เพราะใช้เป็นผ้านุ่งแบบโจงกระเบน สำหรับใช้ในฐานะและตำแหน่งที่แตกต่างกัน เช่น สมปัก ลายหัวหมื่นนายเวรใช้ สมปักไหมเจ้ากรมปลัดกรมใช้ ส่วนมหาดเล็กใช้ผ้าลาย บางทีการนุ่งผ้าสมปักก็ขึ้นอยู่กับโอกาสหรือพิธีการบางอย่าง
.
#ในสมัยรัตนโกสินทร์ สตรีชาววังยังคงนุ่งและห่มผ้าสีตามวันโดยจะใช้ผ้าสีตัดกันคือ #ผ้านุ่งสีหนึ่งผ้าห่มอีกสีหนึ่ง ดังที่มีอยู่ในนิยายเรื่อง #สี่แผ่นดิน แม่ของพลอยได้สอนเรื่องการจัดผ้านุ่ง ผ้าห่ม ตามสีประจำวันของสาวชาววังในสมัยรัชกาลที่ ๕ ว่าต้องแต่งตัวอย่างไรจึงจะถูกต้องโดยแม่ของพลอยพูดว่า #แต่งตัวเร่อร่าเป็นคนบ้านนอกเดี๋ยวเขาจะหาว่าแม่เป็นชาววังแล้วไม่สอน
(๑.) วันอาทิตย์ นุ่งเขียวห่มแดง หรือนุ่งผ้าลายพื้นสีลิ้นจี่ หรือสีเลือดหมู ห่มโศก
(๒.) วันจันทร์ นุ่งเหลืองอ่อนห่มน้ำเงินอ่อน หรือจะห่มบานเย็นก็ได้ หรือถ้านุ่งสีน้ำเงินนกพิราบต้องห่มจำปาแดง
(๓.) วันอังคาร นุ่งสีปูนหรือม่วงเม็ดมะปรางแล้วห่มโศก หรือถ้านุ่งโศกหรือเขียวอ่อน ต้องห่มม่วงอ่อน
(๔.) วันพุธ นุ่งสีถั่วก็ได้ สีเหล็กก็ได้แล้วห่มจำปา
(๕.) วันพฤหัส นุ่งเขียวใบไม้ห่มแดงเลือดนก หรือนุ่งแสดห่มเขียวอ่อน
(๖.) วันศุกร์ นุ่งน้ำเงินแก่ห่มเหลือง
(๗.) วันเสาร์ นุ่งเม็ดมะปรางห่มโศก หรือนุ่งผ้าลายพื้นม่วง ห่มโศก
#หมายเหตุ: (๑) เวลาไว้ทุกข์จะนุ่งผ้าลายพื้นม่วงห่มสีนวล หรือผ้านุ่งสีเขียว ห่มสีม่วงอ่อน หรือม่วงแก่ (๒) วันพระ จะนุ่งสีแดงห่มสีชมพู
.
♦️ Beliefs in dressing according to the daily colors of Thai people It has existed since the Ayutthaya period until the early Rattanakosin period. The color of the dress is determined by the color of the deity of the day………Dressing started from the Ayutthaya period to the early Rattanakosin period. Usually wear a sabai contrasting with a different color loincloth. Which was popular only for royal people or nobles and later the villagers wear according by color according to that day was determined by the color of the daily planetary deity according to belief. Originally, this dress was included in the Pali chant called “Sawasdee Raksa Kamchan” (Clothing according to the color of the day), but most people did not understand the language because there is content that is difficult to access Soonthornphu therefore composed "Sawasdee Raksa Kamkorn" for easy understanding and distributed to all classes during the years 1821-1824.
.
♦️ In the Ayutthaya period, Thai people believed in wearing auspicious colors which is the color of the day for the seven days
1.) Sunday, wear red clothes.
2.) Monday, wear white.
3.) Tuesday, wear pink.
4.) Wednesday, wear green.
5.) Thursday, wear pale yellow.
6.) Friday, wear light blue.
7.) Saturday, wear black.
.
♦️ Cloth trading in Ayutthaya It was so popular that Ayutthaya was an important trading center for merchants. In addition to the fabric weaved by ourselves. Some fabrics are imported from China. India and the European side such as England or Holland, in addition to buying together to make clothes also used to decorate furniture or other items. In addition, during the Ayutthaya period, the characteristics of the fabric also represented the status of the wearer. If a nobleman receives a plaque for his merit, he will receive a "Sompak cloth" to wear when attending an audience. There are many types of Sompak cloth. Sompak cloth is a fabric woven with silk because in the center of the fabric, there are various colors and patterns. It is wider and longer than a normal Sarong because it is used as a loincloth for use in different positions and positions. Sometimes wearing Sompak clothes depends on some occasion or ceremony. Rattanakosin period Royal women still "wore sarongs" and "shading Sabai", the colored cloth according to the day still uses a contrasting color cloth, i.e. one color skirt another color blanket. As in the novel “Four Lands”, Ploy's mother taught her how to dress according to the daily color of royal women in the reign of King Rama V, and how to dress correctly.
.
📌 (#บทความนี้เรียบเรียงและแปลโดยเพจ Thai Culture to the World)
.
💥 Credit: หนังสือหอมติดกระดาน โดย ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย และพิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
.
อ้างอิงที่มา (Reference)
หนังสือหอมติดกระดาน โดย ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย และพิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ดร.สุรัตน์ จงดา (ครูไก่) https://www.youtube.com/watch?v=pi8KSuhCQrw
https://www.cheekkachic.com/.../03/15/color-thaiclothes/
.
————•♦•————
#Thailand #culture #colour #belief #dress #costume #Thai #Amazingthailand #Amazing #Unseenthailand #ThaiCulture #ThaiTravel #ThaiHeritage #ThaiArts #Arts #ThaiCultureToTheWorld
#สีมงคล #การแต่งกายตามสีประจำวัน #สีประจำวัน #ใส่เสื้อผ้าตามสีประจำวันเกิด #สีประจำวันเกิด #แต่งกายตามวันเกิด

Credit: https://www.facebook.com/ThaiCultureToTheWorld2/posts/pfbid02YWGizFiiLPindhLhPycmkpiFYVTWfBzd5yvWo2G6ZG432aPQ7C6tMZMBHPS7o2z8l
แชร์บน Facebook แชร์
Tags ที่เกี่ยวข้อง : ชุดไทย, ประวัติศาสตร์, สไบ, วัฒนธรรมไทย, history, Thai Costume, Thai Dress, Sbai, Sabai, Thai Culture, Thai Culture To The World
มีผู้เข้าชมแล้ว 466 ครั้ง
โพสท์โดย: อ้ายเติ่ง , 10M
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ "VOTE" และ "SHARE"
THAILAND 🇹🇭 | Daily colors in Thai people's beliefs ✨
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
 
Voted By: อ้ายเติ่ง
หากคุณเป็นเจ้าของนิตยสาร/โมเดลลิ่ง เอเจนซี่ ต้องการโปรโมท สามารถส่ง e-mail แจ้งทีมงานให้ตั้งค่า username ของคุณเป็น Official User ได้ที่ info@postjung.com โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม

Pic Post อื่นๆ ของ อ้ายเติ่ง

Thai Apsara. THAILAND 🇹🇭 | ชุดพื้นเมืองภาคใต้ Southern traditional dress, นางสาวไทย - Miss Thailand 2019 THAILAND 🇹🇭 | Thai Dress of Miss Grand Thailand 2020. "Roi-Et" Royal Grand Palace and the Emerald Buddha Temple | Thailand.ดู Pic Post ทั้งหมดของ อ้ายเติ่ง