หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
หน้ารวม Pic Post Pic Post ของฉัน สุดยอด Pic Post สุดยอดนักโพสท์คลังรูปค้นหา Pic PostPost รูป
ดูรายการโปรด เพิ่มเป็นรายการโปรด

REUAM KANTRUM DANCE | THAILAND 🇹🇭

โพสท์โดย อ้ายเติ่ง

เรือมกันตรึม 📸 Credit: Lug Kaew.

Kantrum is a traditinal performance of Thai-Khmer ethnic in some province in Isan (Northeast) such as Surin, Buriram and Sisaket, used for singing along with worship dances or rituals, part of the name Kantrum comes from the sound. "Drum Kantrum" that is mainly played.

The development could be divided into four stages:
1.Pre Ruem Kantrum (before1983),
2.Ruem Kantrum spreaded into the community (1983–1988),
3.Its establishment in the education institutes(1989–2005),
4.preservationand development(2006–2016).

✦ In the first stage, Kuntrum was originally focused on playing musical instruments and singing while dances were found in other rites.

✦ In the second stage (1983), Madame Kaenjan Namwat choreographed a new dance by combining former Kuntrum music and dances named “Reum Kantrum” in be performed in a seminar on fold songs and plays of Surin.

In 1985, Reum Kantrum was spread into Ban Dong Man which was setup as a cuitural village of Kuntrum performances.

In 1987, there were an adaptation of dance and adding male dancers.

✦ In the third stage, Reum Kuntrum was intrvoduced into the educational system.Concurrently, preservation of the original choreograph was being observed.

✦ Dance costumes and decoration followed traditional dresses of Surin Province, Northeastern Thailand.

 

"กันตรึม" เป็นรูปแบบของการละเล่นดนตรีพื้นบ้าน ของชาวไทยเชื้อสายเขมรในเขตอีสานใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดชายแดนติดต่อกับประเทศกัมพูชา คือ จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ เป็นดนตรีที่ใช้ประกอบการร่ายรำพื้นเมือง ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีอันเป็นเอกลักษ์คือ ซอ ปี่ สก๊วล (กลองโทนกันตรึม) และใช้คำร้องเป็นภาษาเขมร โดยในยุคหลังๆ จะมีเครื่องดนตรีอีเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่เข้ามาประสมด้วย เช่น กีตาร์ คีย์บอร์ด และกลองชุด บ้างก็ใช้คำร้องเป็นภาษาอีสานเข้าผสมด้วย เพื่อสื่อให้เข้าถึงผู้ฟังในถิ่นอื่นๆ กันตรึมถือเป็นแม่บทของเพลงพื้นบ้าน และการละเล่นพื้นบ้านอื่นๆ ในแถบอีสานใต้

✦ พัฒนาการเรือมกันตรึมแบ่งได้เป็น 4 ช่วง คือ
1. ก่อนเกิดเรือมกันตรึม(ก่อนปีพ.ศ.2526),
2.เรือมกันตรึมเผยแพร่สู่ชุมชน(พ.ศ.2526-พ.ศ.2531),
3. เรือมกันตรึมในสถานศึกษา(พ.ศ.2532-พ.ศ.2548),
4. เรือมกันตรึมในการอนุรักษ์และสร้างสรรค์(พ.ศ.2549-พ.ศ.2559)

✦ ในช่วงที่1 พบว่ามีการละเล่นกันตรึมมุ่งเน้นการบรรเลงดนตรีและขับร้อง ส่วนการรำพบในพิธีกรรมต่างๆ

✦ ในช่วงที่2 เมื่อพ.ศ.2526 นางแก่นจันทร์ได้ประดิษฐ์การรำพื้นเมืองขึ้นใหม่ โดยนำเอาการละเล่นกันตรึมและการรำแบบดั้งเดิมมาเรียงร้อยเป็นชุดการแสดงขึ้นใหม่เรียกว่า“เรือมกันตรึม”เพื่อแสดงในการสัมมนาเพลงพื้นบ้านและการละเล่นพื้นบ้านจังหวัดสุรินทร์ ในพ.ศ.2528 มีการนำไปเผยแพร่ที่หมู่บ้านดงมันซึ่งจัดตั้งเป็นหมู่บ้านวัฒนธรรมเพื่อเป็นแหล่งอนุรักษ์การละเล่นกันตรึม และปีพ.ศ.2530 เรือมกันตรึมมีการปรับปรุงท่ารำและนำผู้ชายมาร่วมแสดง โดยนางสำรวม ดีสม

✦ ในช่วงที่3 มีการนำเรือมกันตรึมเข้าไปอยู่ในระบบการศึกษา คือ วิทยาลัยครูสุรินทร์ พ.ศ.2532, วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ดพ.ศ.2540, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และโรงเรียนสินรินทร์วิทยา จ.สุรินทร์ พ.ศ.2541

✦ ในช่วงที่4 พ.ศ.2549-พ.ศ.2559 เรือมกันตรึมได้แตกแขนงออกไปหลายรูปแบบและมีการนำชุดท่ารำของเรือมกันตรึมไปปรับใช้และเป็นแนวทางในการออกแบบสร้างสรรค์นาฏยศิลป์พื้นเมืองอีสานใต้ชุดใหม่ๆ ในขณะเดียวกันก็มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูเรือมกันตรึมฉบับดั้งเดิมด้วย

✦ ผู้แสดงแต่งกายแบบพื้นเมืองด้วยผ้าไหมและประดับด้วยปะเกือม อันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดสุรินทร์.

แชร์บน Facebook แชร์
Tags ที่เกี่ยวข้อง : เรือมกันตรึม, วงกันตรึม, เขมรถิ่นไทย, อีสานใต้, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, การแสดงนาฏศิลป์ไทยภาคอีสาน, นาฏศิลป์ไทย, อีสาน, การแสดงพื้นเมือง, dance, traditional, people, Esan, culture, performance, makeup, artist, music, Thailand
มีผู้เข้าชมแล้ว 1,342 ครั้ง
โพสท์โดย: อ้ายเติ่ง , 2Y
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ "VOTE" และ "SHARE"
REUAM KANTRUM DANCE | THAILAND 🇹🇭
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
 
Voted By: อ้ายเติ่ง
หากคุณเป็นเจ้าของนิตยสาร/โมเดลลิ่ง เอเจนซี่ ต้องการโปรโมท สามารถส่ง e-mail แจ้งทีมงานให้ตั้งค่า username ของคุณเป็น Official User ได้ที่ info@postjung.com โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม

Pic Post อื่นๆ ของ อ้ายเติ่ง

Nang Songkran 2022: Kirinee Devi or Kankinee Devi by "Baifern - Pimchanok" | THAILAND 🇹🇭 ชุดไทยพระราชนิยม ๘ แบบ - Thai national costume. I-san guy, Thai traditional outfit. ศรีธรรมาทวารวดี: Dvaravati Era | THAILAND 🇹🇭ดู Pic Post ทั้งหมดของ อ้ายเติ่ง