THAILAND 🇹🇭 | ปลากัดไทย ✧ Siamese Fighting fish
โพสท์โดย อ้ายเติ่งปลากัดไทย: Siamese Fighting fish or Betta fish are among the most popular and beautiful pet fish in the world.
📷 Credit: Achavadee Srisa-an
✧ Siamese fighting fish with alias that the fighters of Siam……Betta splendens is the first species of fighting fish in Thailand that travels abroad. To the origin of all betta fish species. #Thailand 🇹🇭
.
🇹🇭 Siamese fighting fish is a fish well-known to Thai people since ancient times. The original species of betta fish in Thailand is called "Betta Thung" or "Wild Betta Spendens", which are found in natural water sources such as rice fields and swamps, etc. Thailand is the only country in the world that has 5 species of betta fish species, and there are subspecies that researchers are currently focusing on. In registering as a new species of betta fish, such as the striped-tailed Isan betta (Emerald betta or Blue betta or Mekong fighting fish, found in the northeast of Thailand and in Laos), etc. 5 species of Thai betta fish is Betta Splendens, Betta Smaragdina, Betta Saimorientalis, Betta Mahachaiensis, and Betta Imbellis.
.
🇹🇭 Betta Splendens is the first species of Siamese fighting fish to travel abroad. In 1840, Thailand collected Thai betta fish species for foreign researchers, and nine years later, the information of a Danish doctor who wrote an article describing the characteristics of Thai betta fish was published by giving the English name "Macropodus pugnax", but with similarities in color and shape. Therefore misleading that Betta Splendens is the same species of betta fish from Malaysia. Later in the year 1909, a British fish researcher discovered that Thai Betta Splendens were different species from those in Malaysia. The name was changed from "Macropodus pugnax" to "Siamese fighting fish" (common name) or "Betta splendens" (scientific name), which means "graceful warrior".
.
🇹🇭 Spreading around the world for more than 100 years, this Betta splendens species has been developed ever since until it becomes a beautiful betta fish species with high value and price. Some breeds are difficult to see the real one.
.
🇹🇭 There is also evidence of the introduction of Siamese fighting fish in Europe in 1871 and successfully bred in France in the year 1893, it was brought to Germany for the first time in the year 1896 and entered the United States in the year 1910 on the side of Dr. Adisorn Promthep, Director General of the Department of Fisheries Ministry of Agriculture and Cooperatives Said that the betta is a local freshwater fish in Thailand since ancient times. The historical evidence found that it has been recorded since the reign of Thon Buri, King Rama I. In the reign of King Rama II, it is recorded in the play Inao and during the reign of King Rama III, he gave betta fish as a gift and a commemorative representative from Thailand.
.
🇹🇭 For this reason, Thai fighting fish are not just beautiful fish but also an important economic fish of the country In addition to domestic sales, it is also exported abroad. With an average export value of 115.45 million baht per year, the top 5 Thai betta fish export markets are the United States, France, Singapore, China, and Iran, and are also exported to more than 90 countries around the world. At present, there are 1,500 farmers who have registered to raise betta fish with the Department of Fisheries and there are more than 100,000 individuals who are interested in raising betta fish in Thailand.
.
🇹🇭 On February 5, 2019, the Cabinet approved the Thai fighting fish as the national aquatic animal by considering three important elements in terms of culture Unique history, and ownership.
—————•♦•—————
เปิดโลก “ปลากัดไทย” นักสู้แห่งสยาม……ปลากัดป่าภาคกลาง (Betta Splendens) เป็นปลากัดสายพันธุ์แรกของไทยที่เดินทางไปต่างแดน สู่ต้นกำเนิดปลากัดทุกสายพันธุ์ กับฉายา "Siamese fighting fish"
▪️ ปลากัดไทยเป็นปลาที่ชาวไทยรู้จักเป็นอย่างดีมาแต่โบราณ โดยปลากัดสายพันธุ์ดั้งเดิมของไทยมีชื่อที่เรียกว่า “ปลากัดทุ่ง” หรือ “ปลากัดป่า” ซึ่งพบในแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ตามท้องนาและหนองบึง เป็นต้น ประเทศไทย คือ ประเทศเดียวในโลกที่มีปลากัดพื้นบ้าน ๕ สายพันธุ์ และยังมีสายพันธุ์ย่อยที่นักวิจัยกำลังให้ความสนใจในการขึ้นทะเบียนเป็นปลากัดสายพันธุ์ใหม่ เช่น ปลากัดอีสานหางลาย เช่น ปลากัดอีสานหางลาย เป็นต้น พบทางภาคอีสานของไทย และในประเทศลาว (ปลากัดป่าหางลาย ชื่อวิทยาศาสตร์: Betta smaragdina Ladiges, 1972, ชื่อสามัญ: Emerald betta, Blue betta, Mekong fighting fish)
.
▪️ ปลากัดพื้นบ้านไทย ๕ สายพันธุ์
.
๑. #ปลากัดป่าภาคกลาง (Betta Splendens)
.
๒. #ปลากัดป่าภาคอีสาน (Betta Smaragdina)
.
๓. #ปลากัดป่าภาคตะวันออก (Betta Saimorientalis)
.
๔. #ปลากัดป่ามหาชัย (Betta Mahachaiensis)
.
๕. #ปลากัดป่าภาคใต้ (Betta Imbellis)
.
▪️ ปลากัดป่าภาคกลาง (Betta Splendens) เป็นปลากัดสายพันธุ์แรกของไทยที่เดินทางไปต่างแดน ในปี พ.ศ. ๒๓๘๓ ไทยได้รวบรวมปลากัดให้นักวิจัยชาวต่างชาติ และใน ๙ ปี ต่อมาได้มีการเผยแพร่ข้อมูลของนายแพทย์ชาวเดนมาร์กที่ได้เขียนบทความอธิบายลักษณะปลากัดไทย โดยให้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Macropodus pugnax” แต่ด้วยความคล้ายคลึงกันทั้งสีสันและรูปร่าง จึงทำให้เข้าใจผิดว่าปลากัดป่าภาคกลาง (Betta Splendens) เป็นปลากัดสายพันธุ์เดียวกันกับปลากัดของประเทศมาเลเซีย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ นักวิจัยสายพันธุ์ปลา ชาวอังกฤษได้ค้นพบว่าปลากัดป่าภาคกลาง (Betta Splendens) เป็นคนละสายพันธุ์กับที่ประเทศมาเลเซีย จึงมีการเปลี่ยนชื่อใหม่ จาก “Macropodus pugnax” เป็น “Siamese fighting fish” (ชื่อสามัญ) หรือ “Betta splendens” (ชื่อวิทยาศาสตร์) ซึ่งหมายถึง “นักรบผู้สง่างาม”
.
▪️ จากการแพร่กระจายไปทั่วโลกกว่า ๑๐๐ ปี้นี้เอง จึงทำให้ปลากัดป่าภาคกลาง (Betta Splendens) ถูกพัฒนาสายพันธุ์เรื่อยมา จนกลายเป็นปลากัดสายพันธุ์สวยงามชนิดต่างๆ ที่มีค่าและราคาสูง บางสายพันธุ์ก็หาชมตัวจริงได้ยาก
.
▪️ นอกจากนี้ยังพบหลักฐานที่บันทึกถึงการนำปลากัดไทยไปเลี้ยงในยุโรปเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๔ และเพาะพันธุ์สำเร็จที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๖ มีการนำไปในเยอรมันเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ และเข้าสู่สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ ทางด้าน ดร.อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่าปลากัดเป็นปลาน้ำจืดประจำถิ่นของประเทศไทยมาแต่โบราณ โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่ามีการบันทึกไว้ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี รัชกาลที่ ๑ มีการบันทึกเรื่องราวของปลากัดในกฎหมายตราสามดวง ในสมัยรัชกาลที่ ๒ มีบันทึกไว้ในบทละครเรื่องอิเหนา และในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้มอบปลากัดให้เป็นของขวัญเป็นตัวแทนระลึกจากไทย
.
▪️ เหตุนี้ปลากัดไทยจึงไม่ได้เป็นเพียงแค่ปลาสวยงาม แต่ยังเป็น “ปลาเศรษฐกิจ” ที่สำคัญของประเทศ นอกจากการจำหน่ายในประเทศแล้วยังส่งออกต่างประเทศ โดยมีมูลค่าการส่งออกเฉลี่ยที่ ๑๑๕.๔๕ ล้านบาทต่อปี ตลาดส่งออกปลากัดไทย ๕ อันดับ ที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส สิงคโปร์ จีน อิหร่าน และยังส่งไปขายในอีกกว่า ๙๐ ประเทศทั่วโลก ปัจจุบันมีเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเลี้ยงปลากัดกับกรมประมง จำนวน ๑,๕๐๐ ราย และมีรายย่อยที่ชื่นชอบการเลี้ยงปลากัดไทยอีกมากกว่า ๑๐๐,๐๐๐ ราย
.
▪️ เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ คณะรัฐมนตรี พิจารณาเห็นชอบให้ปลากัดไทยเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ โดยพิจารณาองค์ประกอบสำคัญ ๓ มิติ ทั้งด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และด้านความเป็นเจ้าของที่ความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
.
💥Credit: https://www.nstda.or.th/agritec/siamese-fighting-fish/
https://www.youtube.com/watch?v=J0VHA9h3NKY&t=2202s
—————•♦•—————
#SiameseFightingFish #BettaSplendens #fish #BettaFish #animal #Thailand
#Culture #Thai #LoveThailand #Amazingthailand #Amazing #Unseenthailand #Thaiculture #ThaiCultureToTheWorld
#ปลากัดไทย #ปลากัด #ปลากัดสายพันธุ์ไทย #ปลากัดป่า #ปลากัดลูกทุ่ง #ปลากัดหม้อ