THAILAND 🇹🇭 | ฟ้อนภูไทเรณูนคร, Phu thai dance, Nakhon phanom province
โพสท์โดย อ้ายเติ่งฟ้อนภูไทเรณูนคร
Phu Thai Dance (การฟ้อนภูไทเรณูนคร) The dance of the ‘Phu Thai’ ethnic group is performed in festivals during the 5th and 6th lunar months. Although the dancers do not perform synchronically, the dance entertains the audience with beautiful postures from the dancing couples, male and female. Besides the rare dance, the ‘Phu Thai’ welcome tourists with their typical ‘Bai Si Su Khwan’ welcoming ceremony, ‘Pha Laeng’ traditional dinner, and ‘U’ local fermented liquor from the jar. Available at Ban Phu Thai, Amphoe Renu Nakhon, the dance and dinner can be arranged for prior booking.
มีพัฒนาการและกระบวนการฟ้อนจากกิริยาของมนุษย์ สัตว์และการเคลื่อนไหวของพืช การพัฒนาสามารถแบ่งได้ 5 ขั้นตอนคือ
1.การฟ้อนผู้ไทยในอดีตกาล ได้แก่ การฟ้อนในพิธีเหยาเพื่อรักษาโรคโดยผู้หญิง การฟ้อนเล่น กินเหล้า การฟ้อนลงข่วง และการฟ้อนเลาะตูบ ซึ่งเป็นการฟ้อนในประเพณีบุญบั้งไฟในงานบุญเดือนหกโดยผู้ชาย
2.นำท่านิยมในอดีตมาปรับปรุงเป็นท่านิยม 5 ท่า นำผู้หญิงมาฟ้อนคู่ผู้ชาย จัดแสดงหน้าพระที่นั่ง เมื่อ พ.ศ. 2498
3.เริ่มท่าฟ้อนเป็น 9 ท่า จัดกระบวนท่าฟ้อนเป็น 3 ช่วง
4.เพิ่มท่าฟ้อนเป็น 12 ท่า
5.เพิ่มท่าฟ้อนเป็น 16 ท่า ผนวกด้วยท่ามวยยวน ท่าฟ้อนของผู้ชายเข้มแข็ง ทะมัดทะแมง ท่าฟ้อนของผู้หญิงนุ่มนวล
การฟ้อนภูไทเรณูนคร เป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวผู้ไทยเดิมนั้นคงไม่เป็นรูปแบบอย่างปัจจุบันนี้ เพราะเน้นความสนุกนานภายในกลุ่มที่ร่วมฟ้อนด้วยกัน ส่วนใหญ่เป็นการฟ้อนของพวกหนุ่มสาวในงานบุญมหาชาติ งานนมัสการพระธาตุเรณูนคร ซึ่งต่อมาหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอเรณูนคร มีความคิดปรับปรุงการฟ้อนภูไทให้เป็นแบบแผนเพื่อง่ายต่อการฝึกหัดและเป็นเอกลักษณ์ในการฟ้อนภูไท จึงได้เชิญผู้มีอาวุธโสประจำหมู่บ้านที่ฟ้อนภูไทเก่ง มาร่วมคิดประดิษฐ์ท่ารำต่าง ๆ เช่น คุณพ่อควันทองผ้า แก้วมณีชัย ฯลฯ ผู้เฒ่าประจำหมู่บ้านเล่าว่า ท่ารำภูไทเรณูนครนั้นดัดแปลงมาจากการเดินบิน เต้น ของสัตว์ เพราะชาวผู้ไทยมีอาชีพทำนาขณะไถนาจะมีกา หรือนก หลายประเภทลงมาหากินตามทุ่งนา และมีการหยอกล้อเล่นกันสนุกสนานยิ่งนัก
ฟ้อนภูไทเรณูนครเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะ สมัยโบราณหนุ่มสาวจะฟ้อนเพื่อความสนุกสนานในงานเทศกาล ท่ารำมีการดัดแปลงมาจากธรรมชาติ การเดิน การบิน การเต้นของสัตว์ต่าง ๆ และธรรมชาติของต้นไม้
การแสดงชุดนี้เป็นการแสดงที่ได้แสดงเอกลักษณ์ด้านการแต่งกาย การละเล่นของชาวผู้ไทยนิยมแสดงในงานมงคล เทศกาลต่าง ๆ เช่น ปีใหม่ วันสำคัญทางศาสนาหรือตรุษสงกรานต์ การฟ้อนภูไทเรณูนครปัจจุบันเป็นศิลปวัฒนธรรมที่ขึ้นชื่อของอำเภอเรณูนครและของจังหวัดนครพนม
ที่ได้รับการอนุรักษ์และนำออกเผยแพร่ทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นที่ประทับใจของผู้ได้ชมเป็นอันมาก
ดังนั้นการฟ้อนภูไทเรณูนครจึงได้รับเกียรติในการออกแสดงเผยแพร่วัฒนธรรมอยู่เป็นประจำทั้งในงานเทศกาลต่าง ๆ และต้อนรับแขกผู้ใหญ่ที่มาจากต่างบ้านต่างเมืองปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการได้บรรจุวิชาการฟ้อนภูไทให้เยาวชนรำเป็นทุกคน