หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
หน้ารวม Pic Post Pic Post ของฉัน สุดยอด Pic Post สุดยอดนักโพสท์คลังรูปค้นหา Pic PostPost รูป
ดูรายการโปรด เพิ่มเป็นรายการโปรด

THAILAND 🇹🇭 | "Man Mui Zienta Dance" or "Fon Man Mui Chiang Ta": The Influence of Burmese Dramatic Art in Thai Lanna performance.

โพสท์โดย อ้ายเติ่ง
 
ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตาตามแบบ "คุ้มพระราชชายาเจ้าดารารัศมีขัตติยราชนารีศรีนครเชียงใหม่"
©Credit: พัชรพล เหล่าดี
 

‘Fon Man Mui Zienta’ is a legacy of the continuous and enduring Thai-Burmese cross-border cultural flow.
Its name derives from ‘Wei Zyan Ta’, a Burmese traditional song with Yodaya (literally means ‘Siamese’) accent. The song is played at the beginning of the performance, with an accent and some words close to the Burmese language. While the original ‘Wei Zyan Ta’ extols the beauty of Mandalay, the old capital of Burma, ‘Wei Zyan Ta’ in the performance is a lament for lover in a jungle in the remote area.

After 1914 in Chaing Mai... "Fon Man Mui Chiang Ta" is a dance process created by the idea of ​​"Royal Princess Chao Dara Rasamee" intended to be a strange dance from the available dance, therefore ordered to find a woman of Burma. Offering dance
Therefore has a Burmese male actor, and an actress from Mon ethnic name "Mei Jeng Ta" came to dance and accepted as a trainer for a while. Each broadcast, the royal princess will come to control closely.
Therefore modify the dance posture Together with a Burmese dance teacher Name "Salah mo yoe" or "Go mo yoe" (Chao Inthanon Chao Kaew Nawarat's son called Pu Cha Yoe) became a new dance set.

✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨

"ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา" หรือ "ม่านมุยแจ่งต๋า" ศิลปะการฟ้อนราชสำนักเชียงใหม่

ช่วงหลังปี พ.ศ.2457 เป็นต้นมา การฟ้อนในล้านนาเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นด้วยเหตุที่พระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้กราบบังคมทูลลาพระบาทสมเด็จพระมงกุลเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 กลับมาประทับ ณ นครเชียงใหม่ ในการเสด็จกลับมาครั้งนี้ พระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้นำแบบอย่างการฟ้อนรำในราชสำนักสยามมาเผยแพร่ในนครเชียงใหม่ พร้อมทั้งนำครูละครดนตรีจากกรุงเทพฯ ขึ้นมาฝึกหัดถ่ายทอดให้กับตัวละครในวังของท่านและคุ้มเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่และเป็นเหตุให้การฟ้อนในเชียงใหม่เกิดการแตกต่างขึ้นเป็น 2 แบบคือ
แบบที่ 1. เป็นแบบที่มีมาแต่เดิม เรียกว่า “แบบพื้นเมือง หรือแบบดั้งเดิม”
แบบที่ 2. เป็นแบบที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เรียกทางวิชาการว่า “แบบราชสำนัก”
ด้วยเหตุเหล่านี้ จึงทำให้ชุดฟ้อนของเดิมเกิดความแตกต่างกันมากมายและเกิดกระบวนฟ้อนใหม่ ๆ ขึ้นมามากมายพอสมควร
ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา เป็นกระบวนฟ้อนที่เกิดขึ้นจากพระดำริของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีที่ทรงตั้งพระทัยจะให้เป็นการฟ้อนที่แปลกไปจากการฟ้อนที่เคยมีอยู่ ดังนั้นจึงรับสั่งให้หาตัวระบำของพม่ามารำถวาย โดยทรงคิดว่า ถ้าท่ารำของพม่าสวยงามเหมาะสมก็จะดัดแปลงและนำมาผสมกับท่ารำของไทย เป็นรำพม่าแปลงสักชุดหนึ่ง จึงได้นักแสดงชายชาวพม่าและนักแสดงหญิงชาวมอญ ชื่อเม้ยเจ่งตา มารำถวายทอดพระเนตร จึงทรงรับไว้เป็นครูฝึกอยู่ระยะหนึ่ง
การถ่ายทอดแต่ละครั้งพระราชชายาเจ้าดารารัศมีจะเสด็จมาควบคุมอย่างใกล้ชิด และทรงเห็นว่าท่ารำของผู้ชายไม่ค่อยน่าดูมากนัก จึงรับสั่งให้ครูฝึกผู้หญิงแสดงท่ารำของระบำพม่าที่เคยแสดงในที่รโหฐานของกษัตริย์พม่าให้ทอดพระเนตร ซึ่งทรงพอพระทัยมากจึงทรงดัดแปลงท่าฟ้อนร่วมกับครูฟ้อนชาวพม่า ชื่อ"สล่าโมโหย่" หรือ "โกโมโหย่" (เจ้าอินทนนท์ ราชบุตรของเจ้าแก้วนวรัฐเรียก ปู่ชะโหย่) กลายเป็นฟ้อนชุดใหม่ "ฟ้อนกำเบ้อ" หรือ "ฟ้อนผีเสื้อ" ทรงให้ผู้ฟ้อนทั้งหมดแต่งกายเป็นกำเบ้อ หรือ ผีเสื้อ สวมใส่เสื้อผ้าถุง ติดปีกแบบนก ติดหนวดที่ศรีษะแบบผีเสื้อเป็นสีน้ำเงินให้เป็นการฟ้อนเลียนแบบพม่า เรียกว่า “เหว่ยเสี่ยนต่า” หรือ “เหว่ยเสี่ยนต่านานโบ่ง”
แบบของการฟ้อนนี้มาจากราชสำนักพม่า โดยใช้เพลง “เหว่ยเสี่ยนต่า” ประกอบการฟ้อน เรียกกันแต่แรกว่า “ฟ้อนกำเบ้อ” (ผีเสื้อ) แสดงครั้งแรกในงานฉลองพระตำหนักของพระองค์ ที่สร้างขึ้นใหม่บนดอยสุเทพและจะใช้วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่บรรเลงประกอบการฟ้อน
Credit: https://www.facebook.com/ThaiCultureToTheWorld/posts/228155408788898
แชร์บน Facebook แชร์
Tags ที่เกี่ยวข้อง : ฟ้อน, ล้านนา, เจ้าดารารัศมี, ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา, history, performance, dance, dresses, costume, traditional, antique, weaving, clothes, Lanna, Burmese, Thailand
มีผู้เข้าชมแล้ว 4,534 ครั้ง
โพสท์โดย: อ้ายเติ่ง , 4Y
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ "VOTE" และ "SHARE"
THAILAND 🇹🇭 | "Man Mui Zienta Dance" or "Fon Man Mui Chiang Ta": The Influence of Burmese Dramatic Art in Thai Lanna performance.
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
 
Voted By: อ้ายเติ่ง
หากคุณเป็นเจ้าของนิตยสาร/โมเดลลิ่ง เอเจนซี่ ต้องการโปรโมท สามารถส่ง e-mail แจ้งทีมงานให้ตั้งค่า username ของคุณเป็น Official User ได้ที่ info@postjung.com โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม

Pic Post อื่นๆ ของ อ้ายเติ่ง

Thai Wedding Dress: Thai National Costume | THAILAND 🇹🇭 Thailand 🇹🇭 | Thai costume of Ayutthaya kingdom Phra Pirap พระพิราพ (อสูรเทพบุตร) | Thailand 🇹🇭 Thai guy and traditional outfit | Thailandดู Pic Post ทั้งหมดของ อ้ายเติ่ง